Page 106 - kpiebook63013
P. 106

106 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี







             4.3 บทวิเครำะห์หลังกำรเลือกตั้ง



                     เขตเลือกตั้งที่ 1


                      1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง


                      ผู้ให้สัมภาษณ์ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ทุกคน แสดงทัศนะในทิศทางเดียวกันว่าหากมีผู้สมัครรับเลือกตั้ง

             จ่ายเงินเพื่อจูงใจให้ไปลงคะแนนเสียงจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนของตนและจะไม่เลือกผู้สมัครคนนั้น
             อย่างแน่นอน (หากพิจารณาจากข้อมูลก่อนการเลือกตั้งที่ระบุว่าเขตเลือกตั้งที่ 1 ไม่มีผู้สมัครหรือหัวคะแนน

             ใช้เงินในการจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่งก็ทำาให้เข้าใจได้ว่าการใช้เงินเพื่อซื้อเสียงในพื้นที่นี้เป็นไป
             ได้ยากและตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งเองก็น่าจะทราบในประเด็นนี้) ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าการซื้อเสียง

             เป็นสิ่งที่ไม่สุจริตและทำาให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน “เป็นการกระทำาที่ไม่เหมาะสมและไม่ยุติธรรม
             ต่อพรรคการเมืองอื่น ๆ และเป็นการเอาเปรียบแสดงให้เห็นความไม่ซื่อสัตย์ในการทำางาน” ขณะที่บางคนให้

             เหตุผลว่า “เป็นการสนับสนุนในทางที่ผิด ถ้าจะเลือกต้องเลือกคนดี ๆ เข้าไปบริหารมากกว่าคนที่ใช้เงินซื้ออำานาจ
             ไม่เป็นธรรมในการเอาเปรียบพรรคอื่นที่เขาตั้งใจหาเสียง” “ไม่ให้คะแนนเสียง เพราะไม่สุจริต ไม่เป็นกลาง

             แสดงถึงการใช้อำานาจในการเอาเปรียบคนอื่น” จากคำาตอบแสดงให้เห็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการการเลือกตั้ง
             ที่ปราศจากการทุจริต มีความเป็นธรรมในการแข่งขัน และยังมองว่าการทุจริตที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของ

             การเลือกตั้งนั้นมีผลต่อการบริหารงานในอนาคตหากคน ๆ นั้นได้รับเลือกตั้ง


                      ส่วนการได้มาซึ่งคะแนนเสียงโดยไม่ได้ให้เงินกับตัวผู้ลงคะแนนโดยตรง แต่เป็นการให้เงินในรูปของ
             การช่วยเหลือในงานสำาคัญต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมงานและให้เงินช่วยเหลืองานเป็นจำานวนมากนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์

             ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเช่นกัน โดยมองว่าการช่วยเงิน (ใส่ซอง)
             ในงานต่าง ๆ ไม่เกี่ยวข้องและเป็นคนละเรื่องกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง “ไม่มีผล เพราะเราเลือกจาก

             ตัวนโยบาย ไม่สนใจเงินที่เขาจะใส่ซองมา เรามีจุดยืนในการเลือก” “ไม่มีผล เพราะอยู่ที่ความชอบส่วนตัว”
             “มองที่นโยบายมากกว่าบุญคุณที่เขามีต่อเรา” ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าการนำาเงิน

             มาช่วยเหลืองานสำาคัญ ๆ นั้น มีผลเพราะเป็นการช่วยเหลือที่มีนำ้าใจ จำาต้องตอบแทนบุญคุณของเขา
             “มีผล เพราะเขาช่วยเราใส่ซองในงานที่เราจัดขึ้นก็แสดงถึงความมีนำ้าใจในการช่วยเหลือผู้อื่น มีผลทำาให้เราเลือก”

             “มีผล เพราะรู้สึกเป็นบุญคุณ ต้องตอบแทน” “มีผล เพราะเงินที่เขาให้มาคือต้องการจะช่วยเหลือ เราก็อาจจะ
             ต้องตอบแทน” สิ่งที่น่าสนใจคือการให้เงินกับผู้ลงคะแนนเสียงโดยตรงทำาให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อตัวผู้สมัคร

             คนนั้นค่อนข้างมาก แต่การที่ผู้สมัครให้เงินไปให้กับผู้ลงคะแนนเสียงผ่านการใส่ซองช่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้ทำาให้เกิด
             ทัศนคติในแง่ลบต่อตัวผู้สมัครมากนัก และสามารถทำาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนหนึ่งลงคะแนนให้กับเขาได้เช่นกัน


                      สำาหรับคำาถามที่ว่าการช่วยเหลือหรือให้ประโยชน์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน เช่น การช่วยคนในครอบครัว

             หรือ การช่วยผู้ลงคะแนนเอง ส่งผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน (100 เปอร์เซ็นต์)
             ตอบว่าส่งผลอย่างมาก ตัวอย่างเช่น “มีผล เพราะถ้าช่วยครอบครัวของเรา เรารู้สึกถึงความเป็นบุญคุณ
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111