Page 88 - kpiebook63013
P. 88

88    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                     เขตเลือกตั้งที่ 6 : อ�ำเภอไชยำ, อ�ำเภอท่ำชนะ, อ�ำเภอท่ำฉำง,
             อ�ำเภอวิภำวดี และอ�ำเภอคีรีรัฐนิคม (เฉพำะต�ำบลท่ำขนอน ต�ำบลน�้ำหัก
             และต�ำบลบ้ำนยำง)



                        ความตั้งมั่นของพรรคการเมือง


                        จากการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 6 สุราษฎร์ธานี ต่อคำาถามที่ว่า “สำาหรับท่าน
             อะไรสำาคัญกว่า ระหว่างพรรคการเมืองกับตัวผู้สมัคร เพราะอะไร” พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์)

             ให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลอย่างเห็นได้ชัด โดยให้เหตุผลว่า “เพราะนโยบายและอุดมการณ์
             ได้มาจากพรรค” “เลือกพรรค ดูนโยบายพรรค” “เลือกพรรคเพราะพรรคเป็นภาพรวมระดับประเทศ” เป็นต้น

             ซึ่งแน่นอนว่าการให้การยอมรับและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลในการลงคะแนนเสียง
             เลือกตั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในระดับหนึ่ง และเมื่อ

             พิจารณาจากคำาตอบก็สะท้อนให้เห็นว่า ในการรับรู้ของประชาชนนั้น พรรคการเมืองมีบทบาทสำาคัญทั้งในแง่ของ
             การดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่ทำาหน้าที่

             ผลิตนโยบายต่าง ๆ และพรรคการเมืองมีความรับผิดชอบทั่วทั้งประเทศ

                      สิ่งที่น่าสังเกตคือการให้ความเชื่อมั่นกับพรรคการเมืองในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงการมอบความไว้วางใจ

             ต่อการทำาหน้าที่ของพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังจะเห็น

             ได้จากคำาถามที่ว่า “ถ้าพรรคที่ท่านชอบ ส่งผู้สมัครที่ท่านคิดว่าไม่เหมาะสม ท่านยังจะเลือกพรรคนั้นไหม”
             ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าไม่เลือก โดยให้เหตุผลว่า “ตัวผู้สมัครบ่งบอกว่าเราจะได้อะไร”
             เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 6 นั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และภักดี

             ต่อพรรคการเมือง ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์บอกว่าเลือก เพราะ “รักพรรคไม่เปลี่ยน”

             “ตัวบุคคลไม่สำาคัญเท่านายก”


                      นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นว่าการที่ผู้สมัครสังกัดอยู่กับพรรคใด
             พรรคหนึ่งเป็นเวลานานและผลักดันภรรยา สามี ลูกหรือเครือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นปกติและ
             ยังเป็นสิ่งที่ดีอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “เป็นการสานต่อ” “เป็นการสืบทอดอุดมการณ์” “เป็นเรื่องปกติ ทายาทจะได้

             สืบทอด” เป็นต้น แน่นอนว่าคำาตอบเหล่านี้แสดงถึงเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง

             มาอย่างยาวนานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาก่อน ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์อีกส่วนหนึ่ง (20 เปอร์เซ็นต์)
             ที่มองว่าญาติพี่น้องของนักการเมืองไม่ควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าการส่งเครือญาติลงรับสมัครนั้น
             “เป็นการสร้างอิทธิพล” “บางทีอาจจะมีคนดีกว่าแต่ไม่ได้รับโอกาส”


                      ในประเด็นการย้ายพรรคของผู้สมัครที่เคยสังกัดอยู่กับพรรคมายาวนาน ผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง

             (50 เปอร์เซ็นต์) มีความเข้าใจว่าการย้ายพรรคนั้นถือเป็น “เรื่องปกติของการเมือง” “การย้ายพรรคเป็นการทำา
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93