Page 83 - kpiebook63013
P. 83
83
สิ่งที่น่าสังเกตคือการให้ความเชื่อมั่นกับพรรคการเมืองในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมอบความไว้วางใจต่อ
การทำาหน้าที่ของพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์
ทุกคนไม่ได้เชื่อมั่นและไว้ใจต่อตัวบุคคลที่พรรคการเมืองได้คัดเลือกสรรหามาเพื่อลงรับสมัครเลือกตั้ง ดังจะเห็น
ได้จากคำาถามที่ว่า “ถ้าพรรคที่ท่านชอบ ส่งผู้สมัครที่ท่านคิดว่าไม่เหมาะสม ท่านยังจะเลือกพรรคนั้นไหม”
ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด (100 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าไม่เลือก โดยให้เหตุผลว่า “เพราะผู้สมัครนั้นมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ
ในการทำางาน ซึ่งไม่ได้ขึ้นกับชื่อพรรค” “ไม่เลือกเพราะผู้สมัครไม่สามารถพัฒนานโยบายด้านต่าง ๆ ของพรรค”
เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 4 นั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งยังไม่มีความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และภักดี
ต่อการคัดเลือกผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นว่าการที่ผู้สมัครสังกัดอยู่กับ
พรรคใดพรรคหนึ่งเป็นเวลานานและผลักดันภรรยา สามี ลูกหรือเครือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่เป็น
ปกติและยังเป็นสิ่งที่ควรจะทำาอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “เป็นการสานต่อ” “เขาต้องส่งลูกหลานลงสมัครเพื่อที่จะ
รักษาชื่อเสียงของพรรคตนเองหรือเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป” “เขามีฐานเสียงเดิมอยู่แล้ว” เป็นต้น แน่นอนว่า
คำาตอบเหล่านี้แสดงถึงเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองมาอย่างยาวนานและ
มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาก่อน ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์อีกส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) ที่มองว่าญาติพี่น้องของ
นักการเมืองไม่ควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าการส่งเครือญาติลงรับสมัครนั้น “ตัวผู้สมัครอาจจะ
ไม่มีความสามารถมากเท่ากับนักการเมืองเดิม” และ “ทำาให้คนดีมีความสามารถในหมู่บ้านเสียโอกาสไป
น่าเสียดายเพราะไม่มีโอกาสได้แสดงความสามารถเลย”
ในประเด็นการย้ายพรรคของผู้สมัครที่เคยสังกัดอยู่กับพรรคมายาวนาน ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน
(100 เปอร์เซ็นต์) มีความเข้าใจว่าการย้ายพรรคนั้นถือเป็นเรื่องปกติของการเมือง โดยแสดงความเห็นว่า
“เป็นสิทธิส่วนบุคคล” “อุดมการณ์ของตัวผู้สมัครเปลี่ยนได้” และ “การย้ายพรรคเป็นการทำาเพื่อให้ตนได้รับ
ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา” อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ เหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบนั้นเป็นเหตุผลทั่วไป
ไม่ได้บ่งชี้ว่าประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครท่านนั้นหรือไม่ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าความผูกพันระหว่าง
ตัวผู้สมัครกับพรรคการเมืองไม่ได้มีความสำาคัญอะไรมากนักสำาหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนี้ในการจะนำาไปพิจารณา
ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนเสียง
ในประเด็นนโยบายสำาหรับใช้รณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทุกคน
(90 เปอร์เซ็นต์) ตอบตรงกันว่านโยบายของแต่ละพรรคการเมืองมีความน่าสนใจ แต่จะมีนโยบายบางนโยบายที่
ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเป็นพิเศษ เช่น “นโยบายยางพารา ปาล์มนำ้ามัน” “นโยบายด้านการศึกษา” “นโยบายเพิ่ม
งบประมาณท้องถิ่นของพรรคชาติไทยพัฒนา” เป็นต้น ซึ่งจากคำาตอบสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ในการรับรู้ของ
ผู้ให้สัมภาษณ์ พรรคการเมืองซึ่งทำาหน้าที่ผลิตนโยบายเพื่อการรณรงค์หาเสียงนั้น ทุกพรรค (ที่ประชาชนรับรู้)
สามารถผลิตนโยบายตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความใกล้เคียงกัน
ของนโยบายแต่ละพรรค แต่ผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังคงรับรู้ถึงความโดดเด่นของนโยบาย