Page 78 - kpiebook63013
P. 78
78 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในประเด็นนโยบายสำาหรับใช้รณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนตอบ
ตรงกันว่านโยบายโดยทั่วไปของแต่ละพรรคการเมืองมีความน่าสนใจเหมือนกัน แต่จะมีนโยบายบางนโยบายที่
ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเป็นพิเศษ เช่น “นโยบายเบี้ยผู้สูงอายุ” “นโยบายการแก้ปัญหาความยากจน” “นโยบายแก้จน
สร้างคน สร้างชาติ ของพรรคประชาธิปัตย์” “นโยบายปราบคอรัปชั่น ยาเสพติดของท่านประยุทธ์” เป็นต้น
ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า สำาหรับการรับรู้ของผู้ให้สัมภาษณ์ พรรคการเมืองซึ่งทำาหน้าที่ผลิตนโยบายเพื่อการรณรงค์
หาเสียงนั้น ทุกพรรคสามารถผลิตนโยบายตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม
แม้จะมีความใกล้เคียงกันของนโยบายแต่ละพรรค แต่ผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังคงรับรู้ถึง
ความโดดเด่นของนโยบายบางนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองได้ และประชาชนมีความประทับใจต่อนโยบาย
บางนโยบายที่พรรคการเมืองได้นำาเสนอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อนโยบายที่พรรคการเมือง
ผลิตออกมา
สำาหรับประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(80 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าเหมาะสมอย่างมาก โดยให้เหตุผลว่า “ถ้าเลือกแล้วเศรษฐกิจอาจจะดีกว่านี้”
“ประเทศไทยควรมีการเลือกตั้งตั้งนานแล้ว” “ดูเรียบร้อยเหมาะกับการเลือกตั้ง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
ความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนและต้องการจะเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมืองที่เป็นอยู่ผ่านกลไก
การเลือกตั้ง และเมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะช่วยลดความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(60 เปอร์เซ็นต์) คิดว่าความวุ่นวายจะลดลง (ซึ่งต่างจากผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ในเขตเลือกตั้งที่ 1) ตัวอย่าง
คำาตอบ เช่น “สามัคคีปรองดองมากกว่าเดิม” หรือ “น่าจะลด ประชาชนได้เห็นบทเรียนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา”
เป็นต้น ซึ่งคำาตอบดังกล่าวแสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกจะสามารถ
ทำางานผ่านกลไกรัฐสภาไปได้อย่างราบรื่น ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วน (40 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าความวุ่นวาย
ทางการเมืองจะไม่ลดลงหลังมีการเลือกตั้ง
พฤติกรรมของตัวกระท�าทางการเมืองในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2
จากการสัมภาษณ์พบว่าสถานการณ์และบรรยากาศในช่วงก่อนการเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 2 นั้น
ค่อนข้างเป็นบรรยากาศที่มีเสรีภาพและเอื้อต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่ากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่ (กลุ่มคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่
ฝ่ายรัฐ) ไม่มีการเคลื่อนไหวกดดันหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
มีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงสองท่านเท่านั้นที่ระบุว่ามีกลุ่มการเมืองบางกลุ่มในพื้นที่ออกมาช่วยผู้สมัครบางคนหาเสียง
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนยังระบุตรงกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ไม่พบว่ามีผู้สมัครหรือหัวคะแนนใช้เงินใน
การจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ประกอบกับผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) ยังให้ข้อมูลอีกว่า
ไม่พบการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์หรือการกระทำาใด (ที่ไม่ใช่ตัวเงิน) เพื่อจูงใจให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
(ทั้งนี้ มีผู้ให้สัมภาษณ์หนึ่งคนให้ข้อมูลว่าพบเห็นผู้สมัครบางคนเข้าร่วมทำาบุญในงานศพ) ในส่วนของเจ้าหน้าที่
ฝ่ายรัฐทั้งที่เป็นข้าราชการในพื้นที่และข้าราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดการเลือกตั้งโดยตรงนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า เจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้น