Page 76 - kpiebook63013
P. 76

76    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      สำาหรับรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลตรงกันว่า การเลือกตั้ง

             ครั้งนี้ ผู้สมัครลงพื้นที่เข้าหาประชาชนโดยตรงมากกว่าครั้งก่อน ๆ ทั้งผู้สมัครเดิมและผู้สมัครหน้าใหม่ โดยใน
             การลงพื้นที่นั้นบางพรรคการเมืองจะมีทั้งตัวผู้สมัครและแกนนำาคนสำาคัญของพรรคพบปะพูดคุยกับประชาชนด้วย

             นอกจากการพบกับประชาชนโดยตรงแล้ว ผู้สมัครของแต่ละพรรคก็ได้ใช้รูปแบบวิธีหาเสียงไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ
             ใช้รถแห่ ใบปลิว แผ่นป้าย การปราศรัย แต่วิธีการที่เพิ่มเข้ามาและแตกต่างจากการหาเสียงในการเลือกตั้ง

             ครั้งก่อน ๆ (ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนได้พบเห็นวิธีการหาเสียงดังกล่าวนี้) คือ การใช้สื่อที่เรียกว่า Social Media
             ทั้ง Facebook การถ่ายทอดสด (live) โดยใช้แอพลิเคชั่น และ Line


                      ในประเด็นการตัดสินใจลงคะแนน ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ความเห็นว่าการใช้เงินจูงใจเพื่อให้เลือก

             ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งไม่มีผลต่อการตัดสินใจ แต่จะพิจารณาจากพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด พฤติกรรม
             การทำางานของผู้สมัคร และนโยบายของแต่ละพรรคมากกว่า ส่วนการจูงใจโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช้เงิน ผู้ให้สัมภาษณ์

             ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) ให้ความเห็นตรงกันว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วน
             (30 เปอร์เซ็นต์) แสดงความเห็นว่าหากมีผู้สมัครคนใดได้ทำาการอุปถัมภ์ช่วยเหลือตนเองหรือพี่น้องหรือคน

             ในพื้นที่ของตนมาโดยตลอด เขาจะตอบแทนโดยการเลือกผู้สมัครท่านนั้น โดยให้เหตุผลว่า “เพราะเขามองเห็น
             ความสำาคัญของเรา” และ “เลือก เพราะจะได้ตอบแทนบุญคุณที่ตัวเองสามารถทำาได้”





                     เขตเลือกตั้งที่ 2 อ�ำเภอดอนสัก, อ�ำเภอเกำะสมุย, อ�ำเภอเกำะพะงัน

             และอ�ำเภอกำญจนดิษฐ์ (ยกเว้นต�ำบลทุ่งรัง ต�ำบลช้ำงซ้ำย ต�ำบลช้ำงขวำ
             ต�ำบลป่ำร่อน และต�ำบลคลองสระ)


                      ความตั้งมั่นของพรรคการเมือง


                      จากการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 สุราษฎร์ธานี ต่อคำาถามที่ว่า “สำาหรับท่าน อะไร

             สำาคัญกว่า ระหว่างพรรคการเมืองกับตัวผู้สมัคร เพราะอะไร” พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์)

             ให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลอย่างเห็นได้ชัด โดยให้เหตุผลว่า “เพราะตัวผู้สมัครจะต้อง
             ดำาเนินการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับพรรค” “นโยบายมาจากพรรคและผู้สมัครต้องทำาตามนโยบายของพรรค”
             “พรรคมีความมั่นคงน่าเชื่อถือ” เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าการให้การยอมรับและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมือง

             มากกว่าตัวบุคคลในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชนที่มี

             ต่อพรรคการเมืองในระดับหนึ่ง และเมื่อพิจารณาจากคำาตอบก็สะท้อนให้เห็นว่า ในการรับรู้ของประชาชนนั้น
             พรรคการเมืองมีบทบาทสำาคัญทั้งในแง่ของการเป็นสถาบันที่มีความมั่นคง สามารถทำาหน้าที่ผลิตนโยบาย
             ต่าง ๆ และมีความสำาคัญเหนือตัวผู้สมัคร
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81