Page 74 - kpiebook63013
P. 74
74 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ให้เห็นว่า ในการรับรู้ของประชาชนนั้น พรรคการเมืองมีบทบาทสำาคัญทั้งในแง่ของการดำาเนินกิจกรรมทาง
การเมืองภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่ทำาหน้าที่ผลิตนโยบายต่าง ๆ
และพรรคการเมืองสามารถแสดงบทบาทหน้าที่ได้จริง
แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือการให้ความเชื่อมั่นกับพรรคการเมืองในที่นี้ อาจไม่ได้หมายถึงการมอบ
ความไว้วางใจต่อการทำาหน้าที่ของพรรคการเมืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาบุคคลเพื่อลงสมัคร
รับเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่อธิบายว่าจะแม้จะนิยมและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองแต่ก็ต้องใช้
วิจารณญาณส่วนตัวประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครด้วย ซึ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้ไว้วางใจตัวบุคคลที่
พรรคการเมืองได้คัดเลือกสรรหามาเพื่อลงรับสมัครเลือกตั้งเสมอไป ดังจะเห็นได้จากคำาถามที่ว่า “ถ้าพรรคที่
ท่านชอบ ส่งผู้สมัครที่ท่านคิดว่าไม่เหมาะสม ท่านยังจะเลือกพรรคนั้นไหม” ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ประมาณ
60 เปอร์เซ็นต์ตอบว่าไม่เลือก ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีก 40 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าเลือก และมีบางคนให้เหตุผลว่า
“เลือก เพราะมันคือพรรคที่ชอบ ต่อให้เปลี่ยนผู้สมัครก็ยังเลือก” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า แม้จะไม่ใช่คนส่วนใหญ่
แต่ก็มีคนจำานวนหนึ่งที่เชื่อมั่น ไว้วางใจ และภักดี (loyalty) ต่อพรรคการเมืองอย่างมากจนไม่ตั้งข้อสงสัยต่อ
ตัวผู้สมัครที่พรรคการเมืองได้ส่งลงรับสมัครเลือกตั้งแต่อย่างใด
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นว่าการที่ผู้สมัครสังกัดอยู่กับพรรคใด
พรรคหนึ่งเป็นเวลานานและได้ผลักดันภรรยา สามี ลูกหรือเครือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นปกติ
และยังเป็นสิ่งที่ดีอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “เป็นการทำาให้ฐานเสียงเดิมที่มีอยู่แน่นขึ้น” “เป็นสิ่งที่ดีเพราะได้ใช้
ประสบการณ์ถ่ายทอดต่อไปรุ่นหลัง” “เป็นเรื่องที่ปกติ” เป็นต้น แน่นอนว่าคำาตอบเหล่านี้แสดงถึงเชื่อมั่น
ไว้วางใจต่อตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองมาอย่างยาวนานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทว่าในแง่หนึ่ง
ย่อมสะท้อนชัดเจนว่าระบบในการคัดเลือกบุคคลลงสมัครของพรรคการเมืองตามความรู้ความสามารถที่มีลักษณะ
เป็นระบบคุณธรรม (merit system) อาจไม่มีความจำาเป็นมากนัก ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงส่วนน้อยเท่านั้น
(20 เปอร์เซ็นต์) ที่มองว่าญาติพี่น้องของนักการเมืองไม่ควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า การส่ง
เครือญาติลงรับสมัครเป็นการทำาให้เกิดการผูกขาดเฉพาะตระกูลนั้นและเป็นการกระทำาที่ไม่ต่างอะไรจาก
การทำาธุรกิจ
ในประเด็นการย้ายพรรคของผู้สมัครที่เคยสังกัดอยู่กับพรรคมายาวนาน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(70 เปอร์เซ็นต์) มีความเข้าใจว่าการย้ายพรรคนั้นถือเป็นเรื่องปกติของการเมืองและยังมองในแง่ดีว่าการย้ายพรรค
จะทำาให้ประชาชนมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบนั้นเป็นเหตุผลทั่วไป ไม่ได้
บ่งชี้ว่าประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครท่านนั้นหรือไม่ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกจำานวนหนึ่ง (30 เปอร์เซ็นต์)
มองว่าการย้ายพรรคของผู้สมัครแสดงถึงความไม่มีอุดมการณ์ของผู้สมัคร ผู้สมัครยึดถือแต่ผลประโยชน์ของ
ตัวเอง และผู้สมัครไม่มีความมั่นคงทางอุดมการณ์ ซึ่งเหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มนี้ตอบมานั้นบ่งชี้ได้ค่อนข้าง
ชัดเจนว่าพวกเขาจะไม่เลือกผู้สมัครที่ย้ายพรรค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สมัครที่สังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเป็น
เวลานานและไม่ย้ายไปสังกัดพรรคใหม่จะมีความได้เปรียบเหนือผู้สมัครที่ย้ายพรรค เมื่อเป็นเช่นนี้จึงพอจะ
มองเห็นว่า การสังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็นเวลานานนั้นมีผลต่อทัศนคติของประชาชนในระดับหนึ่ง