Page 75 - kpiebook63013
P. 75

75








                           ในประเด็นนโยบายสำาหรับใช้รณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทุกคน

                  (90 เปอร์เซ็นต์) ตอบตรงกันว่านโยบายโดยทั่วไปของแต่ละพรรคการเมืองมีความน่าสนใจเหมือนกัน แต่จะมี
                  นโยบายบางนโยบายที่ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเป็นพิเศษ เช่น “นโยบายพรรคประชาธิปัตย์ เบี้ยผู้สูงอายุ”

                  “นโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นตำ่า” เป็นต้น ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า สำาหรับการรับรู้ของผู้ให้สัมภาษณ์ พรรคการเมือง
                  ซึ่งทำาหน้าที่ผลิตนโยบายเพื่อการรณรงค์หาเสียงนั้น พรรคการเมืองทุกพรรคสามารถผลิตนโยบายตอบสนอง

                  ความต้องการของประชาชนได้ไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความใกล้เคียงกันของนโยบายแต่ละพรรค แต่ผล
                  จากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังคงรับรู้ถึงความโดดเด่นของนโยบายบางนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง

                  ได้ และประชาชนมีความประทับใจต่อนโยบายบางนโยบายที่พรรคการเมืองได้นำาเสนอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
                  ความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองผลิตออกมา


                          สำาหรับประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่

                  (80 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าเหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า “สงบกว่า 5-6 ปีที่แล้ว” “ประชาชนพร้อมจะปฏิรูป
                  ประเทศแล้ว” “ต่างชาติเริ่มบีบรัฐบาล” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนและ

                  ต้องการจะเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมืองที่เป็นอยู่ผ่านกลไกการเลือกตั้ง แต่เมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะช่วย
                  ลดความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทั้งหมด (90 เปอร์เซ็นต์) กลับคิดว่าความวุ่นวาย

                  จะไม่ลดลง ตัวอย่างคำาตอบ เช่น “ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นอีกหากพรรคทำางานไม่ดี” หรือ “นโยบายปฏิบัติ
                  ไม่ได้จริง” หรือ “ความวุ่นวายจะลดลงเฉพาะในช่วงแรก ๆ เท่านั้น” เป็นต้น ซึ่งคำาตอบดังกล่าวแสดงว่า

                  ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกจะสามารถทำางานผ่านกลไกรัฐสภาไปได้อย่าง
                  ราบรื่น มีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงคนเดียวเท่านั้นที่เชื่อว่าความวุ่นวายทางการเมืองจะลดลงหลังมีการเลือกตั้ง


                          พฤติกรรมของตัวกระท�าทางการเมืองในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1


                          จากการสัมภาษณ์พบว่าสถานการณ์และบรรยากาศในช่วงก่อนการเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1 นั้น
                  ค่อนข้างเป็นบรรยากาศที่มีเสรีภาพและเอื้อต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย

                  ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่ากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่ (กลุ่มคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่

                  ฝ่ายรัฐ) ไม่มีการเคลื่อนไหวกดดันหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
                  มีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงท่านเดียวเท่านั้นที่ระบุว่ามีกลุ่มการเมืองบางกลุ่มในพื้นที่ออกมาช่วยผู้สมัครบางคนหา
                  เสียง นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนยังระบุตรงกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ไม่พบว่ามีผู้สมัครหรือหัวคะแนนใช้เงินใน

                  การจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ประกอบกับผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) ยังให้ข้อมูลอีกว่า

                  ไม่พบการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์หรือการกระทำาใด (ที่ไม่ใช่ตัวเงิน) เพื่อจูงใจให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
                  (ทั้งนี้ มีผู้ให้สัมภาษณ์สองท่านให้ข้อมูลว่าผู้สมัครบางคนเข้าร่วมทำากิจกรรมเพื่อสังคมและให้เงินทุนสนับสนุน
                  กิจกรรม และผู้สมัครบางคนเข้าร่วมในพิธีขึ้นบ้านใหม่ของคนในพื้นที่โดยใส่เสื้อของพรรคการเมืองที่เขาสังกัด)

                  ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐทั้งที่เป็นข้าราชการในพื้นที่และข้าราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึง

                  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งโดยตรงนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่า
                  เจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นวางตัวและทำาหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง มีการสนับสนุนรณรงค์ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้ง
                  และปฏิบัติตนไปตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80