Page 77 - kpiebook63013
P. 77

77








                          สิ่งที่มีความแตกต่างจากเขตเลือกตั้งที่ 1 ก็คือ การที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ในเขตเลือกตั้งที่ 2

                  ให้ความเชื่อมั่นและมอบความไว้วางใจต่อการทำาหน้าที่ของพรรคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาบุคคล
                  เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่อธิบายว่าเชื่อมั่นและไว้ใจต่อตัวบุคคลที่พรรคการเมืองได้ทำา

                  การคัดเลือกมาเพื่อลงรับสมัครเลือกตั้ง ดังจะเห็นได้จากคำาถามที่ว่า “ถ้าพรรคที่ท่านชอบ ส่งผู้สมัครที่ท่านคิดว่า
                  ไม่เหมาะสม ท่านยังจะเลือกพรรคนั้นไหม” ผู้ให้สัมภาษณ์ (60 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าเลือก โดยให้เหตุผลว่า

                  “เพราะตัดสินใจแล้วว่าเลือกพรรคไหน ไม่ว่าใครลงก็ยังเลือกพรรคนั้นอยู่” “เลือกเพราะมั่นใจในพรรคนั้น”
                  “เลือกเพราะยังตั้งมั่นกับหัวหน้าพรรคที่ตัวเองชอบ” “เลือกเพราะชอบที่พรรค ไม่ได้ชอบที่ตัวผู้สมัคร”

                  เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ในพื้นที่เขตเลือกตั้ง 2 นั้น คนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และภักดี (loyalty)
                  ต่อพรรคการเมืองอย่างมากจนไม่จำาเป็นต้องพิจารณาตัวผู้สมัครที่พรรคการเมืองได้ส่งลงรับสมัครเลือกตั้ง

                  แต่อย่างใด ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าจะไม่เลือกหากพรรคส่งผู้สมัครที่ตัวเองไม่ชอบ


                          นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นว่า การที่ผู้สมัครสังกัดอยู่กับ
                  พรรคใดพรรคหนึ่งเป็นเวลานานและผลักดันภรรยา สามี ลูกหรือเครือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่เป็น

                  ปกติและยังเป็นสิ่งที่ดีในการส่งต่อประสบการณ์จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ตัวอย่างเช่น “เป็นการสานต่อ”
                  “เป็นการสืบต่อ สิ่งที่พ่อแม่เคยทำา ลูกเจริญรอยตาม” “ลูกหลานสืบทอด อาจได้แนวคิดใหม่ ๆ คนใหม่ ๆ”

                  เป็นต้น แน่นอนว่าคำาตอบเหล่านี้แสดงถึงเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง
                  มาอย่างยาวนานและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ (ทว่าในแง่หนึ่งย่อมสะท้อนชัดเจนว่าระบบในการคัดเลือกบุคคล

                  ลงสมัครของพรรคการเมืองตามความรู้ความสามารถที่มีลักษณะเป็นระบบคุณธรรม (merit system) อาจไม่มี
                  ความจำาเป็นมากนัก) ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์อีกส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) มองว่าญาติพี่น้องของนักการเมือง

                  ไม่ควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า “การส่งเครือญาติลงรับสมัคร ตัวผู้สมัครอาจจะไม่เก่งเท่ากับ
                  นักการเมืองเดิมก็ได้” และ “น่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้ได้มาทำางานให้ประชาชนบ้าง”


                          ในประเด็นการย้ายพรรคของผู้สมัครที่เคยสังกัดอยู่กับพรรคมายาวนาน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่

                  (70 เปอร์เซ็นต์) มีความเข้าใจว่าการย้ายพรรคนั้นถือเป็นเรื่องปกติของการเมืองและการย้ายพรรคเป็นการทำา
                  เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบนั้นเป็นเหตุผล
                  ทั่วไป ไม่ได้บ่งชี้ว่าประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครท่านนั้นหรือไม่ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกจำานวนหนึ่ง

                  (30 เปอร์เซ็นต์) มองว่าการย้ายพรรคของผู้สมัครแสดงถึง “ความไม่มีอุดมการณ์ของผู้สมัคร” “เป็นการหักหลัง”

                  หรือ “ผู้สมัครโดนซื้อตัวจากพรรคอื่น” “เห็นผลประโยชน์ของตัวเองสำาคัญกว่า” และ “ผู้สมัครไม่มีความมั่นคง
                  ทางอุดมการณ์” ซึ่งเหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มนี้ตอบมานั้นบ่งชี้ได้ค่อนข้างชัดเจนว่าพวกเขาจะไม่เลือกผู้สมัคร
                  ที่ย้ายพรรค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สมัครที่สังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเป็นเวลานานและไม่ย้ายไปสังกัดพรรคใหม่

                  จะมีความได้เปรียบเหนือผู้สมัครที่ย้ายพรรค เมื่อเป็นเช่นนี้จึงพอจะมองเห็นว่าการสังกัดพรรคการเมืองเดิม

                  เป็นเวลานานนั้นมีผลต่อทัศนคติของประชาชนในระดับหนึ่ง
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82