Page 82 - kpiebook63013
P. 82

82    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      สำาหรับรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลตรงกันว่าการเลือกตั้ง

             ครั้งนี้ ผู้สมัครลงพื้นที่เข้าหาประชาชนโดยตรงมากกว่าครั้งก่อน ๆ (บางคนให้ข้อมูลว่าเจอผู้สมัครและทีมงานทุกวัน)
             ทั้งผู้สมัครเดิมและผู้สมัครหน้าใหม่ โดยในการลงพื้นที่นั้นบางพรรคการเมืองจะมีทั้งตัวผู้สมัครและแกนนำา

             คนสำาคัญของพรรคพบปะพูดคุยกับประชาชนด้วย นอกจากการพบกับประชาชนโดยตรงแล้ว ผู้สมัครของแต่ละพรรค
             ก็ได้ใช้รูปแบบวิธีหาเสียงไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ใช้รถแห่ ใบปลิว แผ่นป้าย การปราศรัย แต่วิธีการที่เพิ่มเข้ามา

             และแตกต่างจากการหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งก่อน ๆ (ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดได้พบเห็นวิธีการหาเสียง
             ดังกล่าวนี้) คือ การใช้สื่อที่เรียกว่า Social Media ทั้ง Line, Facebook, การถ่ายทอดสด (live) โดยใช้แอพลิเคชั่น


                      ในประเด็นการตัดสินใจลงคะแนน ผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์) ให้ความเห็นว่าการจูงใจ

             โดยวิธีอื่นที่ไม่ใช้เงินมีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้ง เช่น “ถ้ารับเงินเขามาแล้วก็ต้องกาให้เขา ถ้าไม่กา
             รู้สึกผิดต่อตัวเอง” และหากมีผู้สมัครคนใดได้ทำาการอุปถัมภ์ช่วยเหลือตนเองหรือพี่น้องหรือคนในพื้นที่ของตน

             มาโดยตลอด เขาจะตอบแทนโดยการเลือกผู้สมัครท่านนั้น โดยให้เหตุผลว่า “เลือกเพราะตอนเราเดือดร้อน
             ก็มีแต่คนนี้มาช่วย คนอื่นไม่มี” และ “เลือก ตอบแทนเขา” ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกครึ่งหนึ่งบอกว่าการใช้เงิน

             หรือการจูงใจที่ไม่ใช่เงินไม่มีผลต่อการตัดสินใจของเขาแต่อย่างใด





                     เขตเลือกตั้งที่ 4 : อ�ำเภอพุนพิน, อ�ำเภอบ้ำนนำเดิม, อ�ำเภอ
             คีรีรัฐนิคม (ยกเว้นต�ำบลท่ำขนอน ต�ำบลน�้ำหัก และต�ำบลบ้ำนยำง) และ

             อ�ำเภอเคียนซำ (ยกเว้นต�ำบลบ้ำนเสด็จ)


                      ความตั้งมั่นของพรรคการเมือง


                      จากการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 สุราษฎร์ธานี ต่อคำาถามที่ว่า “สำาหรับท่าน อะไร
             สำาคัญกว่า ระหว่างพรรคการเมืองกับตัวผู้สมัคร เพราะอะไร” พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์)

             ให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล โดยให้เหตุผลว่า “นโยบายมาจากพรรคและผู้สมัครต้องทำา

             ตามนโยบายของพรรคที่เสนอไว้”, “ต้องการพรรคที่รักษาบ้านเมือง” เป็นต้น ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกจำานวน
             หนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) ให้ความสำาคัญกับตัวบุคคลมากกว่าพรรค เช่น “ผู้ที่จะพัฒนาประเทศหรือดูแลปัญหา
             ปากท้องของพี่น้องประชาชนและเข้าถึงคือตัวผู้สมัคร” “หากผู้สมัครไม่พร้อมก็ไม่สามารถจัดตั้งพรรคและ

             นโยบายได้” “ผู้สมัครที่มีความเหมาะสมก็ยิ่งสนับสนุนให้เป็นพรรคที่ดี” และมีผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนน้อย

             (10 เปอร์เซ็นต์) ให้ความเห็นว่าคนกับพรรคจะต้องสอดคล้องกัน ดังนั้น จึงอาจพูดได้ว่าประชาชนในเขตเลือกตั้งนี้
             ให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองเท่า ๆ กับตัวบุคคลในการลงคะแนนเสียง แสดงถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจ
             ของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองที่มีอยู่ระดับหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เชื่อมั่นมากนักว่าพรรคการเมือง

             จะสามารถเป็นตัวแทนของพวกเขาได้ เพราะยังคงฝากความหวังไว้กับตัวบุคคลด้วย
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87