Page 80 - kpiebook63013
P. 80

80    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      อย่างไรก็ตาม การให้ความเชื่อมั่นกับพรรคการเมืองในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงการมอบความไว้วางใจ

             ต่อการทำาหน้าที่ของพรรคการเมืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาบุคคลเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง
             ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่อธิบายว่าจะแม้จะนิยมและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองแต่ก็ต้องใช้วิจารณญาณ

             ส่วนตัวประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้ไว้วางใจตัวบุคคลที่พรรคการเมือง
             ได้คัดเลือกสรรหามาเพื่อลงรับสมัครเลือกตั้งเสมอไป ดังจะเห็นได้จากคำาถามที่ว่า “ถ้าพรรคที่ท่านชอบ

             ส่งผู้สมัครที่ท่านคิดว่าไม่เหมาะสม ท่านยังจะเลือกพรรคนั้นไหม” ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์)
             บอกว่าไม่เลือก โดยให้เหตุผลว่า “ต้องการคนมีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมทุก ๆ ด้านเข้ามาทำางาน”

             “ผู้สมัครต้องเข้ามาดูแลเขตของเรา” เป็นต้น ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกส่วนหนึ่ง (30 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าเลือก
             เช่น “คิดว่าผู้สมัครทุกคนไม่มีใครที่จะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพราะถือว่าทางพรรคได้คัดสรรผู้สมัครมาดีแล้ว”

             ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 นั้น คนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเชื่อมั่น ไว้วางใจ และภักดี (loyalty)
             ต่อการคัดเลือกผู้สมัครของพรรคการเมืองมากนัก


                      ในประเด็นการสร้างอิทธิพลของตระกูลการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็น

             ว่าการที่ผู้สมัครสังกัดอยู่กับพรรคใดพรรคหนึ่งเป็นเวลานานและผลักดันภรรยา สามี ลูกหรือเครือญาติลงสมัคร
             รับเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นปกติและเป็นสิ่งที่ส่งผลดีอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “คิดว่าดี ได้สืบทอดอำานาจต่อ ๆ กันไป”

             “เป็นการรับช่วงแทน โดยยังอยู่ในเครือพี่น้องของเขา” เป็นต้น ขณะที่มีผู้ให้สัมภาษณ์อีกครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์)
             ที่มองว่าญาติพี่น้องของนักการเมืองไม่ควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า “เป็นค่านิยมแบบเก่า”

             “เป็นการสืบทอดอำานาจในเขตนี้ไม่ต้องการให้ใครเข้ามาเป็น” “เป็นการหาผลประโยชน์ทำาให้ประเทศพัฒนาช้า”
             “เป็นการบริหารในแบบเดิม” เป็นต้น แน่นอนว่าคำาตอบเหล่านี้ยังไม่ได้แสดงถึงความเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อ

             ตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองมาอย่างยาวนานมากนัก และผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่งยังเห็นว่า
             ระบบในการคัดเลือกบุคคลลงสมัครของพรรคการเมืองควรจะคำานึงถึงระบบคุณธรรมด้วย


                      ในประเด็นการย้ายพรรคของผู้สมัครที่เคยสังกัดอยู่กับพรรคมายาวนาน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (90

             เปอร์เซ็นต์) มีความเข้าใจว่าการย้ายพรรคนั้นถือเป็นเรื่องปกติของการเมือง โดยให้ความเห็นว่า “อาจจะเปลี่ยนแปลง
             เพราะมีความสนใจสิ่งใหม่ ๆ ” และ “การย้ายพรรคเป็นผลจากการเปลี่ยนความคิด ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา”
             อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบนั้นเป็นเหตุผลทั่วไป ไม่ได้บ่งชี้ว่าประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ผู้

             สมัครท่านนั้นหรือไม่ ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนน้อย (10 เปอร์เซ็นต์) มองว่าการย้ายพรรคของผู้สมัครแสดงถึง

             ความไม่มีอุดมการณ์ของผู้สมัครคนนั้น “เป็นคนที่ไม่มีอุดมการณ์ที่แน่นอน” ซึ่งเหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มนี้
             ตอบมาบ่งชี้ได้ค่อนข้างชัดเจนว่าพวกเขาจะไม่เลือกผู้สมัครที่ย้ายพรรค แต่เนื่องจากมีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงคนเดียวที่
             ให้เหตุผลเช่นนี้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 ผู้สมัครที่สังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเดิมเป็นเวลานาน

             และไม่ย้ายไปสังกัดพรรคใหม่ไม่ได้มีความได้เปรียบเหนือผู้สมัครที่ย้ายพรรคมากนัก เมื่อเป็นเช่นนี้จึงพอจะมอง

             เห็นว่า การสังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็นเวลานานนั้นแทบไม่มีผลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตเลือกตั้งนี้
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85