Page 84 - kpiebook63013
P. 84
84 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
บางนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองได้ และประชาชนมีความประทับใจต่อนโยบายบางนโยบายที่พรรคการเมือง
ได้นำาเสนอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองผลิตออกมา
สำาหรับประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(90 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าเหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า “จะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง” “จะได้ช่วยแก้ปัญหา
เศรษฐกิจตอนนี้” “ประชาชนต้องการเปลี่ยนบุคคลมาบริหารประเทศ” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเข้ามา
มีส่วนร่วมของประชาชนและต้องการจะเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมืองที่เป็นอยู่ผ่านกลไกการเลือกตั้ง และ
เมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะช่วยลดความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดคิดว่าขึ้นอยู่กับ
พฤติกรรมของนักการเมืองและพรรคที่ได้รับเลือก เช่น “ถ้าพรรคฉ้อโกง คอรัปชั่นอีกก็ไม่มีใครชอบให้มา
บริหารประเทศ” หรือ “จะลดหรือไม่ขึ้นกับผลการเลือกตั้ง” “ถ้าผลการเลือกตั้งได้คนดี คนเหมาะสม บ้านเมือง
ก็ไม่วุ่นวาย” เป็นต้น ซึ่งคำาตอบดังกล่าวแสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองที่ได้รับเลือก
จะสามารถทำางานผ่านกลไกรัฐสภาไปได้อย่างราบรื่น
พฤติกรรมของตัวกระท�าทางการเมืองในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 4
จากการสัมภาษณ์พบว่าสถานการณ์และบรรยากาศในช่วงก่อนการเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 4 นั้น
ค่อนข้างเป็นบรรยากาศที่มีเสรีภาพและเอื้อต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด (100 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่ากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่ (กลุ่มคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ)
ไม่มีการเคลื่อนไหวกดดันหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง นอกจากนี้
ผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทุกคน (90 เปอร์เซ็นต์) ยังระบุตรงกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ไม่พบว่ามีผู้สมัครหรือหัวคะแนน
ใช้เงินในการจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง แต่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนหนึ่ง (40 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่า
พบการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์หรือการกระทำาใด (ที่ไม่ใช่ตัวเงิน) เพื่อจูงใจให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
(ทั้งนี้ มีผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลว่าพบเห็นผู้สมัครบางคนเข้าร่วมทำาบุญในงานศพและงานบุญ) ในส่วนของ
เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐทั้งที่เป็นข้าราชการในพื้นที่และข้าราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งโดยตรงนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่าเจ้าหน้าที่รัฐ
เหล่านั้นวางตัวและทำาหน้าที่ได้อย่างเป็นกลาง มีการสนับสนุนรณรงค์ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้งและปฏิบัติตน
ไปตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
สำาหรับรูปแบบการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละพรรค ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลตรงกันว่า
การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครลงพื้นที่เข้าหาประชาชนโดยตรงมากกว่าครั้งก่อน ๆ ทั้งผู้สมัครเดิมและผู้สมัครหน้าใหม่
โดยในการลงพื้นที่นั้นบางพรรคการเมืองจะมีทั้งตัวผู้สมัครและแกนนำาคนสำาคัญของพรรคพบปะพูดคุยกับ
ประชาชนด้วย นอกจากการพบกับประชาชนโดยตรงแล้ว ผู้สมัครของแต่ละพรรคก็ได้ใช้รูปแบบวิธีหาเสียง
ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ใช้รถแห่ ใบปลิว แผ่นป้าย การปราศรัย แต่วิธีการที่เพิ่มเข้ามาและแตกต่างจาก
การหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งก่อน ๆ (ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) ได้พบเห็นวิธีการหาเสียง
ดังกล่าวนี้) คือ การใช้สื่อที่เรียกว่า Social Media ทั้ง Line, Facebook, การถ่ายทอดสด (live) โดยใช้แอพลิเคชั่น