Page 85 - kpiebook63013
P. 85
85
ในประเด็นการตัดสินใจลงคะแนน ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ความเห็นว่าการใช้เงินจูงใจเพื่อให้เลือก
ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ส่วนการจูงใจโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช้เงิน ผู้ให้สัมภาษณ์จำานวนครึ่งหนึ่ง
(50 เปอร์เซ็นต์) แสดงความเห็นว่าหากมีผู้สมัครคนใดได้ทำาการอุปถัมภ์ช่วยเหลือตนเองหรือพี่น้องหรือคนใน
พื้นที่ของตนมาโดยตลอด เขาจะตอบแทนโดยการเลือกผู้สมัครท่านนั้น โดยให้เหตุผลว่า “เลือก ตอบแทนเขา”
และ “ที่เขาช่วยเราแสดงว่าเขาเป็นคนดี” “คนที่มีนำ้าใจช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจะสามารถพัฒนาบ้าน
เมืองให้ดียิ่งขึ้นได้” แต่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกครึ่งหนึ่งบอกว่าจะไม่เลือก เพราะ “การช่วยเหลือไม่ควรจะหวังผล”
“จะไม่รับการช่วยเหลือจากใครทั้งนั้น มีสติปัญญาคิดเองได้ เงินไม่สามารถซื้อได้”
เขตเลือกตั้งที่ 5 : อ�ำเภอพระแสง, อ�ำเภอชัยบุรี, อ�ำเภอพนม,
อ�ำเภอบ้ำนตำขุน และอ�ำเภอเคียนซำ (เฉพำะต�ำบลบ้ำนเสด็จ)
ความตั้งมั่นของพรรคการเมือง
จากการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 5 สุราษฎร์ธานี ต่อคำาถามที่ว่า “สำาหรับท่าน อะไร
สำาคัญกว่า ระหว่างพรรคการเมืองกับตัวผู้สมัคร เพราะอะไร” พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์)
ให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลอย่างเห็นได้ชัด โดยให้เหตุผลว่า “พรรคการเมืองมีนโยบาย
ในการหาเสียง” “มีความมั่นใจในพรรคการเมือง” “พรรคการเมืองมีผลงาน” และ “หัวหน้าพรรคการเมือง
มีบทบาทมาก” ซึ่งแน่นอนว่าการให้การยอมรับและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคลในการ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนั้นแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองในระดับหนึ่ง
และเมื่อพิจารณาจากคำาตอบก็สะท้อนให้เห็นว่า ในการรับรู้ของประชาชนนั้น พรรคการเมืองมีบทบาทสำาคัญ
ทั้งในแง่ของการดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน พรรคการเมืองเป็นสถาบัน
ที่ทำาหน้าที่ผลิตนโยบายต่าง ๆ และพรรคการเมืองสามารถทำาหน้าที่ได้จริง
แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือการให้ความเชื่อมั่นกับพรรคการเมืองในที่นี้อาจไม่ได้หมายถึงการมอบ
ความไว้วางใจต่อการทำาหน้าที่ของพรรคการเมืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสรรหาบุคคลเพื่อลงสมัคร
รับเลือกตั้ง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่อธิบายว่าจะแม้จะนิยมและให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองแต่ก็ต้องใช้
วิจารณญาณส่วนตัวประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้ไว้วางใจตัวบุคคล
ที่พรรคการเมืองได้คัดเลือกสรรหามาเพื่อลงรับสมัครเลือกตั้งเสมอไป ดังจะเห็นได้จากคำาถามที่ว่า “ถ้าพรรค
ที่ท่านชอบ ส่งผู้สมัครที่ท่านคิดว่าไม่เหมาะสม ท่านยังจะเลือกพรรคนั้นไหม” ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(70 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าไม่เลือก ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนน้อย (30 เปอร์เซ็นต์) บอกว่าเลือก โดยให้เหตุผลว่า
“เลือก เพราะดูนโยบายกับหัวหน้าพรรค” “เลือก เพราะไม่เกี่ยวกับคน ชอบที่พรรค”