Page 86 - kpiebook63013
P. 86

86    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี






                      นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด (100 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นว่า การที่ผู้สมัครสังกัดอยู่กับ

             พรรคใดพรรคหนึ่งเป็นเวลานานและผลักดันภรรยา สามี ลูกหรือเครือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นเป็นสิ่งที่เป็น
             ปกติและยังเป็นสิ่งที่ดีอีกด้วย ตัวอย่างเช่น “จะได้คนที่มีแนวคิดคล้ายกันมาทำางานต่อเนื่อง” “ดี เขามาจาก

             คนในเครือเดียวกัน” “ดี เป็นการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น” “ดี เพิ่มฐานคะแนนเสียง” เป็นต้น แน่นอนว่าคำาตอบ
             เหล่านี้แสดงถึงเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อตัวบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมืองมาอย่างยาวนานและมีผลงาน

             เป็นที่ประจักษ์มาก่อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับในผลงานของนักการเมืองรุ่นก่อนและมองเห็นข้อดีของ
             การถ่ายทอด ส่งต่อ ทักษะ ประสบการณ์ของตระกูลการเมือง ทว่าในแง่หนึ่งย่อมสะท้อนชัดเจนว่าระบบในการ

             คัดเลือกบุคคลลงสมัครของพรรคการเมืองที่มีลักษณะเป็นระบบคุณธรรมอาจไม่มีความจำาเป็นมากนัก


                      ในประเด็นการย้ายพรรคของผู้สมัครที่เคยสังกัดอยู่กับพรรคมายาวนาน ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
             (70 เปอร์เซ็นต์) มีความเข้าใจว่าการย้ายพรรคนั้นถือเป็นเรื่องปกติของการเมือง “เปลี่ยนเพราะต้องการไปหา

             ผลประโยชน์ที่ดีกว่า” หรือ “อาจมีความขัดแย้งกับพรรคเก่า” หรือ “การเปลี่ยนพรรคไม่มีผลอะไรมากกับ
             ชีวิตของประชาชน” อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบนั้นเป็นเหตุผลทั่วไป ไม่ได้บ่งชี้ว่าประชาชน

             จะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครท่านนั้นหรือไม่ ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์อีกจำานวนหนึ่ง (30 เปอร์เซ็นต์) ไม่มีความคิดเห็น
             ต่อประเด็นนี้ จึงพอจะกล่าวได้ว่า ตามทัศนะของประชาชนในเขตเลือกตั้งนี้ ความผูกพันอย่างยาวนานกับ

             พรรคการเมืองไม่ได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของนักการเมือง


                      ในประเด็นนโยบายสำาหรับใช้รณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทุกคน
             (90 เปอร์เซ็นต์) ตอบตรงกันว่านโยบายของแต่ละพรรคการเมืองมีความน่าสนใจและมีความแตกต่างกัน นโยบาย

             ของบางพรรคการเมืองผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเป็นพิเศษ เช่น “นโยบายเพิ่มค่าครองชีพผู้สูงอายุ” “นโยบายของ
             พรรคอนาคตใหม่ตอบโจทย์ได้ทุกปัญหา” “สนใจนโยบายพรรคเสรีรวมไทย” “นโยบายปฏิวัติการศึกษาของ

             พรรคอนาคตใหม่” เป็นต้น ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่าประชาชนยังรับรู้ถึงความแตกต่างในนโยบายของแต่ละ
             พรรคการเมืองได้และประชาชนมีความประทับใจต่อนโยบายบางนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งแสดงให้เห็น

             ถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองผลิตออกมา


                      สำาหรับประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน
             (100 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าเหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า “เหมาะสม ควรเปลี่ยนรัฐบาล” “สงบและเหมาะสม”

             “เหมาะสมเนื่องจากปัจจุบันเศรษฐกิจไม่ดี ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ควรมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหา”
             ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนและต้องการจะเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมือง

             ที่เป็นอยู่ผ่านกลไกการเลือกตั้ง แต่เมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะช่วยลดความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่
             ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) กลับคิดว่าความวุ่นวายไม่ลดลง ตัวอย่างคำาตอบ เช่น “ขนาดช่วงเลือกตั้ง

             ยังมีความวุ่นวาย มีการตอบโต้กันทั้งที่ยังไม่รู้ผลการเลือกตั้ง” หรือ “มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกเหมือนเดิม” หรือ
             “อาจมีความขัดแย้งของพรรคที่แพ้ ไม่พอใจต่อคะแนน” เป็นต้น ซึ่งคำาตอบดังกล่าวแสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่

             ยังไม่เชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกจะสามารถทำางานผ่านกลไกรัฐสภาไปได้อย่างราบรื่น
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91