Page 81 - kpiebook63013
P. 81
81
ในประเด็นนโยบายสำาหรับใช้รณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่
(60 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่านโยบายของแต่ละพรรคการเมืองมีความน่าสนใจและมีความแตกต่างกันชัดเจน
โดยมีนโยบายที่ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเป็นพิเศษ เช่น “นโยบายประกันรายได้แรงงานของพรรคประชาธิปัตย์” “นโยบาย
หยุดคอรัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวงของพรรคเสรีรวมไทย” “นโยบายพรรคอนาคตใหม่ที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่”
“นโยบายสนับสนุนประชาธิปไตยของอนาคตใหม่” เป็นต้น ซึ่งจากผลการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าประชาชนรับรู้ถึง
ความแตกต่างของนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองได้และประชาชนมีความประทับใจต่อนโยบายบางนโยบายของ
พรรคการเมืองอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองผลิตออกมา
สำาหรับประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคน
ตอบว่า เหมาะสมและต้องการให้เกิดการเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่า “ประเทศไทยห่างหายจากการเลือกตั้งและ
ความเป็นประชาธิปไตยมานาน” “ควรมีการเลือกตั้งตั้งนานแล้ว” “สถานการณ์บ้านเมืองสงบดี ปัญหาต่าง ๆ
ต้องแก้ไข ให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบ้าง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนและ
ต้องการจะเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมืองที่เป็นอยู่ผ่านกลไกการเลือกตั้ง แต่เมื่อถามว่าการเลือกตั้งจะช่วย
ลดความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนคิดว่าความวุ่นวายจะไม่ลดลง ตัวอย่างคำาตอบ เช่น
“มีความวุ่นวาย แตกแยกแบบเดิม ๆ ” หรือ “มีความวุ่นวาย แตกแยกกันมานาน ไม่น่าจะลดลงได้” เป็นต้น
ซึ่งคำาตอบดังกล่าวแสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นว่า พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกจะสามารถทำางาน
ผ่านกลไกรัฐสภาไปได้อย่างราบรื่น
พฤติกรรมของตัวกระท�าทางการเมืองในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3
จากการสัมภาษณ์พบว่าสถานการณ์และบรรยากาศในช่วงก่อนการเลือกตั้งในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 3 นั้น
ค่อนข้างเป็นบรรยากาศที่มีเสรีภาพและเอื้อต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) ให้ข้อมูลว่ากลุ่มการเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่ (กลุ่มคนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐ)
ไม่มีการเคลื่อนไหวกดดันหรือใช้อิทธิพลใด ๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง (มีผู้ให้สัมภาษณ์
เพียงสองท่านเท่านั้นที่ระบุว่ามีกลุ่มการเมืองบางกลุ่มในพื้นที่ออกมาช่วยผู้สมัครบางคนหาเสียง) นอกจากนี้
ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (70 เปอร์เซ็นต์) ระบุตรงกันว่าโดยส่วนตัวแล้ว ไม่พบว่ามีผู้สมัครหรือหัวคะแนนใช้เงิน
ในการจูงใจเพื่อให้ไปเลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง แต่ผู้ให้สัมภาษณ์บางคน (30 เปอร์เซ็นต์) ทราบว่ามีการใช้เงิน
จูงใจ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ต่างไปจากเขตเลือกตั้งอื่น ๆ
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนยังให้ข้อมูลอีกว่าไม่พบการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์หรือ
การกระทำาใด (ที่ไม่ใช่ตัวเงิน) เพื่อจูงใจให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐทั้งที่เป็นข้าราชการ
ในพื้นที่และข้าราชการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง
โดยตรงนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันว่าเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นวางตัวและทำาหน้าที่ได้อย่าง
เป็นกลาง มีการสนับสนุนรณรงค์ให้ประชาชนออกไปเลือกตั้งและปฏิบัติตนไปตามหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน