Page 89 - kpiebook63013
P. 89

89








                  เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์มากที่สุด เป็นธรรมดา” และ “ความคิดอาจจะไม่ตรงกัน” อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่

                  ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบนั้นเป็นเหตุผลทั่วไป ไม่ได้บ่งชี้ว่าประชาชนจะลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครท่านนั้นหรือไม่
                  ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกครึ่งหนึ่ง (50 เปอร์เซ็นต์) มองว่าการย้ายพรรคของผู้สมัครแสดงถึง “ความไม่มีอุดมการณ์

                  ของผู้สมัคร” “ควรอยู่พรรคไหนพรรคนั้น” หรือ “ผู้สมัครโดนซื้อตัวจากพรรคอื่น” “เห็นผลประโยชน์ของ
                  ตัวเองสำาคัญกว่า” ซึ่งเหตุผลที่ผู้ให้สัมภาษณ์กลุ่มนี้ตอบมานั้นบ่งชี้ได้ค่อนข้างชัดเจนว่าพวกเขาจะไม่เลือก

                  ผู้สมัครที่ย้ายพรรค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้สมัครที่สังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเป็นเวลานานและไม่ย้ายไป
                  สังกัดพรรคใหม่จะมีความได้เปรียบเหนือผู้สมัครที่ย้ายพรรค จึงกล่าวได้ว่าการสังกัดพรรคการเมืองเดิมเป็น

                  เวลานานนั้นมีผลต่อทัศนคติของประชาชนในระดับหนึ่ง


                           ในประเด็นนโยบายสำาหรับใช้รณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมือง ผู้ให้สัมภาษณ์ครึ่งหนึ่ง
                  (50 เปอร์เซ็นต์) ตอบตรงกันว่านโยบายของแต่ละพรรคการเมืองทุกพรรคเป็นนโยบายที่ดีไม่มีความแตกต่างกัน

                  แต่ก็มีนโยบายบางนโยบายที่ผู้ให้สัมภาษณ์สนใจเป็นพิเศษ เช่น “นโยบายรัฐสวัสดิการของพรรคประชาธิปัตย์”
                  “นโยบายทำาลายการผูกขาดทางเศรษฐกิจของพรรคอนาคตใหม่” “นโยบายบัตรประชารัฐของพรรคพลังประชารัฐ”

                  เป็นต้น ซึ่งผลจากการสัมภาษณ์ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังรับรู้ถึงความแตกต่างของนโยบายบางนโยบายของ
                  แต่ละพรรคการเมืองได้และประชาชนมีความประทับใจต่อนโยบายบางนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งแสดง

                  ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อนโยบายที่พรรคการเมืองผลิตออกมา ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์อีกครึ่งหนี่ง
                  (50 เปอร์เซ็นต์) มองว่านโยบายแต่ละพรรคมีความแตกต่างกัน บางพรรคมีนโยบายที่ดี บางพรรคมีนโยบาย

                  ที่ไม่ตรงกับความต้องการ เช่น “แตกต่างโดยสิ้นเชิง และไม่ตรงความต้องการ” “แตกต่างมาก บางพรรค
                  เน้นการศึกษา บางพรรคเน้นเศรษฐกิจ มีผลต่อการตัดสินใจ” “แตกต่างมีผลต่อการตัดสินใจ ถ้านโยบายดี

                  ก็เลือก”

                          สำาหรับประเด็นที่ว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่

                  (90 เปอร์เซ็นต์) ตอบว่าเหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า “สงบ เหมาะมาก” “สงบ เหมาะมานานแล้ว” “สงบ

                  เพราะ คสช. ทำาไว้ดีแล้ว” “คิดว่าเรียบร้อยมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีคนพูดถึงการเลือกตั้งกันเยอะและ
                  มีความตื่นตัวทางการเมืองกันเยอะ” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนและต้องการ
                  จะเปลี่ยนแปลงสภาวะทางการเมืองที่เป็นอยู่ผ่านกลไกการเลือกตั้งอย่างมาก และเมื่อถามว่าการเลือกตั้ง

                  จะช่วยลดความวุ่นวายทางการเมืองได้หรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) คิดว่าความวุ่นวาย

                  จะลดลง ตัวอย่างคำาตอบ เช่น “ลดน้อยลงเพราะจะต้องเอาประเทศเป็นหลักและมีการวางกรอบไว้ดีแล้ว”
                  หรือ “คิดว่าน้อยลง คนตาสว่างขึ้น” “น้อยลง เพราะ คสช. วางรากฐานที่ดีไว้ให้แล้ว” “น้อยลงเพราะประยุทธ์
                  จะได้เป็นนายกต่อ” เป็นต้น ซึ่งคำาตอบดังกล่าวแสดงว่าประชาชนส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าพรรคการเมืองที่ได้รับเลือก

                  จะสามารถทำางานผ่านกลไกรัฐสภาไปได้อย่างราบรื่น ไม่ขัดแย้งหรือกลั่นแกล้งกันนอกสภา นอกระบบ ขณะที่

                  ผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วน (20 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าความวุ่นวายทางการเมืองจะไม่ลดลงหลังมีการเลือกตั้ง “ไม่ลด
                  แน่นอน อาจมีความขัดแย้งอีก เพราะตอนนี้ก็มีอยู่บ้าง” “อาจจะมีเพราะแค่เลือกตั้งก็รบกันจะตายอยู่แล้ว”
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94