Page 36 - kpiebook63013
P. 36

36    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      Linz and Stepan ได้ให้คำานิยามเชิงปฏิบัติการของประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นว่า สามารถมองในสองแง่

             หนึ่ง ในแง่พฤติกรรม ระบอบประชาธิปไตยในประเทศหนึ่งจะถูกทำาให้ตั้งมั่นไม่ได้หากตัวแสดงหลักทาง
             การเมืองต่าง ๆ ทั้งตัวแสดงระดับชาติ ตัวแสดงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้ได้

             มาซึ่งเป้าหมายของพวกเขาโดยสร้างระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยขึ้นมาหรือพยายามแยกห่างออกจากรัฐ
             สอง ในแง่ทัศนคติ ระบอบประชาธิปไตยจะตั้งมั่นได้นั้นมติของมหาชนส่วนใหญ่ต้องยืนหยัด (แม้ในช่วงที่เกิด

             ปัญหาทางเศรษฐกิจหรือเกิดความไม่พึงพอใจต่อรัฐบาลที่อยู่ในอำานาจอย่างมากก็ตาม) มหาชนยังคงยึดใน
             ความเชื่อที่ว่ากระบวนการทางประชาธิปไตยและสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นหาทางที่

             เหมาะสมที่สุดในการปกครองสังคมส่วนรวม หรือ มีการสนับสนุนระบอบอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยมีเป็นส่วนน้อย
             หรือ การออกห่างจากพวกที่นิยมประชาธิปไตยมีน้อย หรือ ในเชิงรัฐธรรมนูญ ระบอบประชาธิปไตยจะตั้งมั่น

             เอาพลังทั้งฝ่ายรัฐบาลและมิใช่รัฐอยู่ในการหาทางออกจากความขัดแย้งภายในขอบเขตของกฎหมาย กระบวนการ
             สถาบันที่เกี่ยวข้อง ในวิถีของกระบวนการแห่งประชาธิปไตย (Linz, Juan J. and Stepan, Alfred, 1996,

             p.14-15)


                      Linz and Stepan วิเคราะห์ว่าเงื่อนไขที่ส่งเสริมให้เกิดความตั้งมั่นแห่งประชาธิปไตยนั้นมีอยู่ 5 เงื่อนไข
             โดยแต่ละเงื่อนไขเกี่ยวพันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ดังนี้


                      1. ประชาสังคมที่มีเสรีและมีชีวิตชีวา (free and lively civil society) หมายความว่า ในสังคมนั้น ๆ
             ต้องมีพื้นที่ (areas) ที่สามารถปกครองตัวเอง มีกลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ค่อนข้างเสรี และสามารถ

             สร้างคุณค่าให้ตัวเอง เกิดการสานสัมพันธ์กันจนมีความเป็นปึกแผ่น สนองผลประโยชน์ของพวกเขาเอง รวมไปถึง

             มีการเคลื่อนไหวทางสังคมปรากฎโดยทั่วไป เช่น การรวมกลุ่มและเคลื่อนไหวของสตรี องค์กรทางวิชาการ ประชาคม
             หมู่บ้าน หรือ เป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มตัวแทนช่วงชั้นทางสังคม (social strata) เช่น สหภาพแรงงาน สมาคม
             ผู้ประกอบการ สมาคมวิชาชีพ เป็นต้น


                      2. สังคมการเมือง (political society) หมายความถึงพื้นที่ที่ตัวแสดงทางการเมืองสามารถแข่งขัน

             ประชันกันเพื่อสิทธิอำานาจอันชอบธรรมในการใช้อำานาจสาธารณะและกลไกของรัฐ (public power and
             state apparatus) ในความเป็นจริง เพียงแค่มีเงื่อนไขแรก (ประชาสังคมที่มีเสรีและมีชีวิตชีวา) ก็เพียงพอที่จะ

             ทำาลายระบอบที่มิใช่ประชาธิปไตยได้อยู่แล้ว แต่การที่จะทำาให้ประชาธิปไตยตั้งมั่นได้นั้นต้องไปสัมพันธ์กับ
             สังคมการเมือง (political society) กล่าวคือ สมาชิกในระบบการเมืองต้องเลือกหรือไว้วางใจต่อสถาบันหลัก

             ต่าง ๆ ในสังคมการเมือง เช่น พรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฎร ระบบและกติกาการเลือกตั้ง รวมถึงความเป็น
             ผู้นำาทางการเมือง


                      3. รัฐและกลไกของรัฐอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม (government and state apparatus subjected

             to rule of law) รัฐต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ซึ่งตามลัทธิเสรีนิยมแล้ว รัฐจะต้องถูกจำากัดอำานาจ ในขณะเดียวกัน
             พลเมืองสามารถปกป้องตัวเองจากรัฐ ทุกองค์กรต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และมีการตรวจสอบจากศาลและ

             องค์กรอิสระ การทำาเช่นนี้มิใช่เพื่อให้เกิดการใช้อำานาจรัฐอย่างระมัดระวังเท่านั้น แต่ยังเป็นการเรียกร้องให้เกิด
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41