Page 37 - kpiebook63013
P. 37
37
ความโปร่งใส (transparency) ตรวจสอบได้ (accountability) การจะทำาให้ประชาธิปไตยตั้งมั่นได้จึงต้องมี
การปกครองที่อยู่ภายใต้กฎหมาย มีรัฐที่ถูกควบคุมจำากัดอำานาจ ยิ่งสถาบันที่ตรวจสอบถ่วงดุลกับรัฐเหล่านี้
ทำางานได้ดีเท่าไหร่ ยิ่งมีประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ ซึ่งพูดอีกอย่างได้ว่า เป็นการปกครองที่มีลักษณะเป็นแบบ
รัฐธรรมนูญนิยม (constitutionalism) โดยไม่มีการแทรกแซงหรือเปลี่ยนแปลงหรือละเมิดหลักการดังกล่าว
ในอีกทางหนึ่ง แม้จะมีรัฐบาลและผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีแห่งประชาธิปไตย แต่หากผู้นำาคิดว่า
เขามาจากการเลือกตั้ง มีความชอบธรรมโดยวิถีทางแห่งประชาธิปไตย จึงไม่ให้ความสำาคัญกับสถาบันอื่น
ทั้งสภาและศาล ลักษณะดังกล่าวก็ส่งผลเสียต่อความตั้งมั่นของประชาธิปไตยได้เช่นกัน (Linz, Juan J.
and Stepan, Alfred, 1996, p.19)
4. ระบบราชการที่สามารถใช้การได้ (usable bureaucracy) เนื่องจากเงื่อนไขสามประการข้างต้น
ต้องอาศัยระบบราชการในการดำาเนินการเป็นหลัก รัฐบาลประชาธิปไตยจึงต้องสามารถใช้อำานาจอันชอบธรรม
ในขอบเขตพื้นที่นั้น ๆ ได้ กล่าวคือ รัฐบาลต้องสามารถสั่งการ ควบคุม ระบบราชการหรือเก็บภาษีเพื่อหารายได้
เข้ารัฐ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคบั่นทอนประชาธิปไตยได้ อย่างในประเทศชิลีและหลายพื้นที่
ในโลกที่ระบบราชการไม่มีการทำาหน้าที่อย่างเหมาะสมมากเพียงพอ หรือบางครั้งระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย
ได้ปล่อยให้ข้าราชการเข้าไปกุมอำานาจในตำาแหน่งที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง เช่นในหน่วยงานด้าน
งานยุติธรรมหรือด้านการศึกษา เป็นต้น
5. สังคมเศรษฐกิจ (economic society) Linz and Stepan เชื่อว่าสภาพเศรษฐกิจในรูปแบบเดิม
ที่สุดโต่งสองขั้วไม่อาจนำาพาไปสู่ความตั้งมั่นของประชาธิปไตยได้ กล่าวคือ ขั้วแรก เศรษฐกิจแบบสั่งการ/
แบบวางแผน (command economic) ที่รัฐหรือองค์กรสำาคัญระดับชาติมีบทบาทในการวางแผน แทรกแซง
กำาหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ และ ขั้วที่สอง เศรษฐกิจแบบอาศัยกลไกตลาดแต่เพียงอย่างเดียว (pure market
economy) ที่รัฐไม่ได้มีบทบาทในการกำาหนดหรือแทรกแซงทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด ปล่อยให้กลไกตลาด
ดำาเนินไปอย่างเต็มที่ โดยหวังว่า “มือที่มองไม่เห็น” จะจัดระเบียบในตลาดเอง Linz and Stepan เสนอว่า
ควรปฏิเสธการผลักดันระบบเศรษฐกิจไปสู่ขั้วใดขั้วหนึ่ง แต่ต้องใช้สิ่งที่เขาเรียกว่า สังคมเศรษฐกิจ (economic
society) ซึ่งเป็นการไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันระหว่างรัฐและตลาด โดยการสร้างปทัสถาน กฎระเบียบ นโยบาย
สถาบันบางอย่างขึ้นมา จนระบอบประชาธิปไตยสามารถผลักดันนโยบายบางอย่างผ่านทาง economic society
และสามารถจัดบริการสาธารณะในเรื่องสำาคัญ ๆ ได้ เช่น การศึกษา สุขภาพ การขนส่งคมนาคม เป็นต้น
ในทางตรงข้ามหากสังคมเศรษฐกิจไม่สามารถเกิดขึ้น ไม่มีการจัดตาข่ายรองรับผู้ที่ถูกผลักออกจากตลาด
(safe net) และปล่อยให้เกิดความเหลื่อมลำ้าทางเศรษฐกิจสูง การจะหวังให้ประชาธิปไตยตั้งมั่นก็คงจะ
เป็นไปไม่ได้ (Linz, Juan J. and Stepan, Alfred, 1996, p.20-21)
นักวิชาการบางท่านเชื่อว่า ความตั้งมั่นของประชาธิปไตยต้องอาศัยเงื่อนไขบางอย่างก่อนเสมอ
ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทันที เช่น Larry Diamond เชื่อว่าความตั้งมั่นของระบอบสามารถเกิดขึ้นได้หลายทาง
เพราะประชาธิปไตยนั้นมีหลายรูปแบบและมีหลายระดับ แต่ในประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่จำาต้องมีเงื่อนไขนำา