Page 38 - kpiebook63013
P. 38

38    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             (preconditions) บางอย่างก่อน เช่น สถาบันทางการเมืองที่เข้มแข็ง มีความรับผิดชอบตรวจสอบได้ของรูปแบบ

             การบริหารงานภาครัฐทั้งแนวดิ่งและแนวระนาบ มีหลักนิติธรรม มีภาคประชาสังคม และมีเศรษฐกิจที่เติบโต
             มั่นคงด้วย (โปรดู Diamond, Larry, 1999) ขณะที่ Huntington ได้ตั้งข้อสังเกตว่าจากการศึกษาประเทศ

             35 ประเทศที่มีการเปลี่ยนผ่านจากประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยมาเป็นประเทศประชาธิปไตยในช่วงปี 1970-
             1980 การตั้งมั่นของประชาธิปไตยในหลายประเทศมักจะเกิดภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง กล่าวคือ เกิดได้ใน

             ประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ เกิดในประเทศที่มีกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากระบอบอำานาจนิยม
             มาเป็นประชาธิปไตยอย่างสันติ หรือ เกิดในประเทศที่มีประสบการณ์ในการเป็นประชาธิปไตยมาบ้างและ

             ยอมรับการสนับสนุนช่วยเหลือจากต่างชาติ (โปรดดู Huntington, Samuel, 1993)


                      ขณะที่นักวิชาการบางท่าน เช่น Guillermo O’Donnell ท้าทายแนวคิดของนักวิชาการที่อธิบาย
             ความตั้งมั่นของประชาธิปไตยโดยเน้นไปที่การสร้างความเป็นสถาบัน O’Donnell เสนอว่า หากเรายึดถือว่า

             การทำาให้ประชาธิปไตยตั้งมั่นคือการดูว่าประชาธิปไตยจะคงทนหรือยั่งยืนยาวนานมากแค่ไหน เราก็ไม่ควร
             ดูเฉพาะสถาบันทางการเมืองที่เป็นทางการเท่านั้น แต่ต้องดูไปถึงสถาบัน องค์กร ทางการเมืองที่ไม่เป็นทางการ

             ด้วย ซึ่งในความจริงแล้ว สถาบันหรือองค์กรที่ไม่เป็นทางการพวกนี้กลับมีตัวกระทำาต่าง ๆ ที่ไม่ได้กระทำาไปด้วย
             เหตุผลสาธารณะแบบที่นักวิชาการอธิบาย แต่ทำาไปเพราะเหตุผลเฉพาะของแต่ละคนมากกว่า อย่างไรก็ตาม

             ประชาธิปไตยที่ดูจะไม่สมบูรณ์แบบเช่นนี้กลับสามารถมีความมั่นคงยืนยาวได้ทั้งที่ระบอบประชาธิปไตยแบบ
             เป็นทางการกับพฤติกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นจริงมันไม่สอดคล้องกัน (O’Donnell, Guillermo, 1996, p.34-51)

             ฉะนั้น การที่นักวิชาการพยายามสร้างทฤษฎีโดยการแบ่งแยกระหว่างประชาธิปไตยกับไม่ใช่ประชาธิปไตย
             หรือ การพยายามที่จะตัดแบ่งระหว่างประเทศที่เป็นประชาธิปไตยตั้งมั่นกับไม่ตั้งมั่นก็อาจจะเกิดปัญหา

             เพราะในความเป็นจริง หลายประเทศแม้จะสามารถล้มระบอบอำานาจนิยมไปได้แล้ว แต่อีกหลายประเทศ
             ก็กลับมาอยู่ในสภาวะอำานาจนิยมแบบใหม่ (แม้จะมีการเลือกตั้งก็ตาม) บางประเทศอยู่ในเขตพื้นที่สีเทาที่

             เต็มไปด้วยความคลุมเครือ ฯลฯ แต่นักวิชาการบางกลุ่มกลับพยายามบอกว่าการที่ประเทศหนึ่งมีลักษณะข้างต้น
             ย่อมแสดงถึงความไม่ตั้งมั่นของประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นยังพยายามที่จะแยกประชาธิปไตยออกจากระบอบ

             ที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ซึ่ง O’Donnell มองว่าการทำาเช่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะในเชิงวิชาการ มีการนิยาม
             ลักษณะ และรูปแบบของประชาธิปไตยที่มีความหลากหลายอย่างมาก ดังนั้น การที่นักวิชาการบางกลุ่มยึดมั่น

             ในแนวทาง Polyarchy ของ Dahl (ที่มุ่งพินิจแต่ประชาธิปไตยในเชิงสถาบันและความเป็นทางการ) โดยไม่สนใจ
             ความไม่เป็นทางการและความซับซ้อนในโลกความเป็นจริง ก็อาจจะไม่เข้าใจถึงการตั้งมั่นของประชาธิปไตย

             ได้มากนัก
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43