Page 40 - kpiebook63013
P. 40

40    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             เลือกตั้งเกินแปดร้อยคน อาจแต่งตั้งกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งเพิ่มได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ

             กำาหนด (2) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อทำาหน้าที่รักษา
             ความปลอดภัยและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้ง


                      มาตรา 26 การกำาหนดจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดพึงมีและพูดถึงหลักเกณฑ์

             การแบ่งเขตการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้ (1) ให้ใช้จำานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศ
             ในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยห้าสิบคน จำานวนที่ได้รับ

             ให้ถือว่าเป็นจำานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน (2) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
             ตาม ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (3) จังหวัด

             ใดมีราษฎรเกินจำานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน
             ทุกจำานวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน (4) เมื่อได้จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

             ของแต่ละจังหวัดตามแล้ว ถ้าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบสามร้อยห้าสิบคน จังหวัดใดมีเศษ
             ที่เหลือจากการคำานวณมากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎรตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำานวณนั้นในลำาดับรองลงมาจนครบ
             จำานวนสามร้อยห้าสิบคน (5) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัด

             ออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้
             ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำานวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน


                      มาตรา 27 กล่าวถึงการดำาเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขต

             ให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำานวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน โดยถือเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ให้รวม
             อำาเภอต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้ง โดยคำานึงถึงพื้นที่ที่ติดต่อใกล้ชิดกัน ความสะดวกในการคมนาคมระหว่างกัน และ
             การเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ถ้าการรวมอำาเภอในลักษณะนี้จะทำาให้มีจำานวนราษฎรมากหรือน้อยเกินไป

             ให้แยกตำาบลของอำาเภอออกเพื่อให้ได้จำานวนราษฎรพอเพียงสำาหรับการเป็นเขตเลือกตั้ง แต่จะแยกหรือ

             รวมเฉพาะเพียงบางส่วนของตำาบลไม่ได้ (2) ในกรณีที่การกำาหนดพื้นที่ตามเกณฑ์ใน (1) จะทำาให้จำานวนราษฎร
             ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีจำานวนไม่ใกล้เคียงกันหรือไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกัน ให้ดำาเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง
             ตามสภาพของชุมชนที่ราษฎรมีการติดต่อกันเป็นประจำาในลักษณะที่เป็นชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

             และสามารถเดินทางติดต่อกันได้โดยสะดวก โดยจะต้องทำาให้จำานวนราษฎรมีจำานวนใกล้เคียงกันมากที่สุด

             (3) เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองและประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับ
             การแบ่งเขตเลือกตั้ง


                      มาตรา 31 กล่าวถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย
             หากเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี (2) มีอายุ

             ไม่ตำ่ากว่าสิบแปดปีในวันเลือกตั้ง (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า

             เก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ส่วนมาตรา 32 ได้ระบุถึงบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้แก่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45