Page 35 - kpiebook63013
P. 35
35
2.3 ควำมตั้งมั่นของประชำธิปไตย
ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น (consolidated democracy) คือการดำารงอยู่ของประชาธิปไตยอย่างถาวร
(endure) ตัวกระทำาทางการเมืองต่าง ๆ ในระบบการเมืองยอมรับในความชอบธรรมของระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย ทุกคนเคลื่อนไหวภายใต้กรอบกติกาประชาธิปไตย และมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สถาบัน
ทางการเมือง พร้อมทั้งพยายามใช้เหตุผลสาธารณะที่มุ่งถกเถียงเพื่อหาทางออกร่วมกันมากกว่าใช้เหตุผลส่วนตัว
เพื่อประโยชน์เฉพาะตนเท่านั้น อีกทั้งทัศนคติและพฤติกรรมของตัวกระทำาก็ต้องเป็นในทางประชาธิปไตยนั้นด้วย
จนประชาธิปไตยกลายเป็นเรื่องที่ถูกทำาให้เป็นปกติ (normalize) เป็นกิจวัตรประจำา (routine) และมี
ความเป็นสถาบัน (institutional) สำาหรับพวกเขา และในที่สุดการกระทำาใดที่เบี่ยงออกจากปทัสถานแห่ง
ประชาธิปไตยจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดปกติไป (Gorokhovskaia, Yana, 2017) อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศซึ่งมี
ระบอบประชาธิปไตยที่ดำารงอยู่ได้นานนับตั้งแต่อดีตมาก็ใช่ว่าจะมีความตั้งมั่นเสมอไป เพราะในระบบการเมือง
ยุคใหม่ที่พรรคการเมืองแทบทุกพรรคมีลักษณะเป็นพรรคที่เน้นประชานิยม (Populist Party) นอกจากนี้
ยังมีปัจจัยอีกจำานวนหนึ่ง เช่น เศรษฐกิจ สังคม การส่งอิทธิพลจากต่างประเทศ ที่อาจจะทำาให้ประชาธิปไตย
ไม่สามารถดำารงอยู่ได้อย่างมั่นคงถาวรได้อีกต่อไป
Linz and Stepan อธิบายว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำาคัญต่อความตั้งมั่นของประชาธิปไตยคือรูปแบบ
ของอำานาจนิยม ซึ่งอำานาจนิยมที่ปรากฎในระบบการปกครองนั้นมีหลายรูปแบบ และการเปลี่ยนจากอำานาจ
นิยมไปสู่ประชาธิปไตยก็มีหลายรูปแบบด้วยเช่นกัน แต่ก่อนที่ระบบการเมืองนั้นจะไปถึงความตั้งมั่นได้ ต้องมี
เงื่อนไขเบื้องต้น 3 ประการ ดังนี้
1. ต้องมีรัฐที่ทำางานได้จริงและเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในระบบการเมืองนั้น หากมีความขัดแย้ง
ในอำานาจรัฐ ขอบเขตของอำานาจรัฐ หรือ อัตลักษณ์ของประชาชนที่ไม่มีความผูกพันกับรัฐ จนเสมือนกับว่า
ไม่มีรัฐดำารงอยู่ ซึ่งหากไม่มีรัฐ การเลือกตั้งที่เสรีก็ย่อมจะมีไม่ได้ ผู้ชนะการเลือกตั้งก็ไม่อาจใช้อำานาจที่ชอบธรรมได้
สิทธิของประชาชนย่อมไม่ได้รับการคุ้มครอง ดังนั้น จึงสรุปได้ชัดว่าหากไม่มีรัฐก็ไม่อาจมีประชาธิปไตยได้
(no state, no democracy)
2. มีการเลือกตั้งที่เสรีและเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมจริง
3 ผู้ปกครองหรือรัฐบาลที่มาจากระบอบประชาธิปไตยก็ต้องปกครองอย่างเป็นประชาธิปไตยด้วย
กล่าวคือ รัฐบาลต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่ละเมิดกฎหมาย หรือ รัฐธรรมนูญ
ด้วยเงื่อนไขข้างต้น Linz and Stepan จึงสรุปว่าประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นจะต้องเริ่มจากประเทศที่
เป็นประชาธิปไตยจริง ๆ อยู่ก่อน ไม่สามารถเริ่มจากประเทศที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย (non-democratic
regimes) หรือประเทศที่มีประชาธิปไตยเทียม (pseudo-democracies) หรือประเทศที่มีประชาธิปไตยพันทาง
(hybrid democracy) ได้เลย (Linz, Juan J. and Stepan, Alfred, 1996, p.14)