Page 31 - kpiebook63013
P. 31

31








                           2.3   พรรคที่พ่ายแพ้ต้องไม่พยายามที่จะขัดขวางพรรคที่ชนะจากการเข้าไปครองอำานาจ ขณะที่

                                พรรคที่ชนะก็ไม่ใช้อำานาจที่เป็นทางการที่ตนมีอยู่เพื่อทำาลายความสามารถในการแข่งขัน
                                ของพรรคที่แพ้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

                           2.4   ผู้ที่ถูกกำาหนดโดยกฎหมายและเป็นผู้ซึ่งถูกปกครองย่อมถือเป็นพลเมือง และพลเมือง

                                แต่ละคนจะมีเสียงเพียงคนละหนึ่งเสียงในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง

                          3. เงื่อนไขเกี่ยวกับพรรคการเมืองและพรรครัฐบาล


                           3.1   พรรคการเมืองแต่ละพรรคเป็นกลุ่มคนผู้ซึ่งแสวงหาตำาแหน่งด้วยเหตุผลเพียงต้องการรายได้
                                อภิสิทธิ์ อำานาจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นไปได้ก็ด้วยการเข้าครอบครองกลไกอำานาจปกครองของรัฐ


                           3.2   พรรคที่ชนะ (หรือพรรคร่วมรัฐบาล) จะสามารถครองอำานาจรัฐได้อย่างสมบูรณ์จนกระทั่ง
                                ถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะต้องไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงคะแนนไม่ว่าจะมาจาก

                                ฝ่ายนิติบัญญัติหรือจากผู้ที่มีสิทธิออกเสียง ดังนั้น พรรครัฐบาลจึงต้องไม่ถูกขับออกก่อนจะมี
                                การเลือกตั้งครั้งต่อไป

                           3.3   อำานาจทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นไปอย่างไม่จำากัด เนื่องจากรัฐสามารถทำาทุกสิ่งทุกอย่าง

                                ให้เป็นเรื่องของชาติ/รัฐได้ สามารถอยู่เหนือผลประโยชน์ของเอกชน

                           3.4  สิ่งที่จำากัดอำานาจรัฐบาลได้เพียงอย่างเดียวคือพรรครัฐบาลที่กำาลังครองอำานาจอยู่นั้นก็คือ

                                การที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมเสรีภาพทางการเมืองของฝ่ายค้านหรือพลเมือง (ในฐานะ
                                ปัจเจก) เว้นเสียแต่รัฐบาลจะจัดการด้วยกำาลัง

                           3.5   ทุกหน่วยในตัวแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง หรือ ปัจเจกบุคคล หรือ พรรคร่วม ล้วนมี

                                พฤติการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ ทุกสิ่งเป็นไปภายใต้เป้าหมายที่จะใช้
                                ทรัพยากรอย่างน้อยที่สุดและจะกระทำาหรือแสดงออกก็ต่อเมื่อผลตอบแทนที่ได้มามากกว่า

                                สิ่งที่ต้องเสียไป ทั้งนี้ Downs ระบุว่า คำาว่าเป็นเหตุเป็นผล (rational) ที่เขาใช้นั้นหมายความ
                                เท่ากับคำาว่า มีประสิทธิภาพ (efficient) และยำ้าเตือนว่าความหมายที่ใช้นี้เป็นความหมาย

                                ในทางเศรษฐศาสตร์ ไม่ควรนำาไปปะปนกับความหมายในทางตรรกะวิทยาหรือในทาง
                                จิตวิทยา (Downs, Anthony, 1957, p.136)


                          จากเงื่อนไขทั้งหมดข้างต้น Downs จึงสร้างหลักการทั่วไป (axioms) ที่ใช้สำาหรับอธิบายพฤติกรรม
                  ของตัวกระทำาต่าง ๆ ในตลาดแห่งการเลือกตั้งว่า “...พรรคการเมืองย่อมประกอบด้วยคน และผู้คนที่อยู่

                  ในพรรคการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้สร้างนโยบายด้วยความตั้งใจที่จะใช้นโยบายดังกล่าวนั้นใน
                  การได้มาซึ่งคะแนนเสียงเท่านั้น ผู้คนเหล่านั้นไม่ได้แสวงหาอำานาจรัฐเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดนโยบายแบบใด

                  แบบหนึ่ง หรือเพื่อที่จะรับใช้กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะความจริงแล้ว ที่พรรคการเมืองสร้างนโยบาย
                  ขึ้นมาและรับใช้กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งอำานาจรัฐมากกว่า ดังนั้น หน้าที่ของพรรคการเมือง

                  ที่เราพบเห็นทั่วไป นั่นคือ การสร้างนโยบายและผลักดันนโยบายให้ได้รับการปฏิบัติเมื่อตนเองได้เป็น
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36