Page 27 - kpiebook63013
P. 27
27
1. กำรอธิบำยจำกปัจจัยภำยนอก
แนวทางการอธิบายนี้เชื่อว่าการตัดสินใจลงคะแนนเป็นผลมาจากปัจจัยหรือเงื่อนไขภายนอกตัว
ผู้ลงคะแนน ซึ่งปัจจัยภายนอกนั้นสามารถส่งผลต่อทัศนคติ วิธีคิด วิถีชีวิต ของผู้ลงคะแนนเป็นอย่างมาก ประกอบกับ
ปัจจัยภายนอกดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ลงคะแนนไม่สามารถกำาหนดหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่ายนัก เช่น ระดับ
การศึกษา อาชีพ รายได้ ช่วงอายุ เป็นต้น และด้วยเหตุที่ปัจจัยภายนอกค่อนข้างมีความคงที่จึงทำาให้การอธิบาย
พฤติกรรมการลงคะแนนโดยยึดโยงกับปัจจัยภายนอกสามารถใช้อธิบายได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน โดยสามารถ
แบ่งการอธิบายออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่
1.1 การอธิบายโดยใช้สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
แนวทางนี้อธิบายว่าการกระทำาของปัจเจกบุคคลตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยภายนอกด้านเศรษฐกิจ
และสังคม โดยมีสมมติฐานว่าพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของคนแต่ละคนย่อมได้รับอิทธิพลจากสถานภาพ
ทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลคนนั้น โดยมีงานวิจัยชิ้นสำาคัญของ Charles E. Merriam และ Harold
F. Gosnel ยืนยันข้อสรุปดังกล่าว กล่าวคือ คนที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมใกล้เคียงกันจะมีทัศนะ
ความคิดเห็นทางการเมืองใกล้เคียงกันด้วย ทำาให้การลงคะแนนเสียงของพวกเขาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
โดยตัวแปรที่แนวทางใช้ในการศึกษาอธิบาย ได้แก่ เพศ เชื้อชาติ ระดับการศึกษา ระดับรายได้ อาชีพ
ถิ่นที่อยู่อาศัย ช่วงอายุ เป็นต้น (Merriam, Charles E. and Gosnel, Harold F., 1924)
ในกรณีของประเทศไทย งานวิจัยของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์ที่ยึดถือแนวทางการอธิบายรูปแบบนี้
มีอยู่เป็นจำานวนมาก โดยงานชิ้นบุกเบิกและมีอิทธิพลอย่างยิ่ง คือ การศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ.2522 โดย สุจิต บุญบงการ และ พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว โดยผู้ศึกษาค้นพบว่าถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ลงคะแนน
(ซึ่งเป็นตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม) มีผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนน นั่นคือ ประชากรที่อาศัยในชนบท
มีแนวโน้มออกไปใช้สิทธิลงคะแนนมากกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ หรือ เพศ มีผลต่อพฤติกรรม
การเลือกตั้ง นั่นคือ เพศชายใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกตัวผู้แทนได้เร็วกว่าเพศหญิง หรือ ช่วงอายุมีผลต่อ
พฤติกรรมการเลือกตั้ง กล่าวคือ ผู้ที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวถึงวัยกลางคนมักเลือกตั้งโดยพิจารณาไปที่พรรคมากกว่า
ตัวบุคคล เป็นต้น (โปรดดู สุจิต บุญบงการและพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2526)
ในปี พ.ศ.2535 มีงานวิจัยของ นัฐพงศ์ สุขวิสิฎฐ์ ที่ทำาการศึกษาเหตุผลของการลงคะแนนเสียง
เลือกตั้ง ศึกษาเฉพาะกรณีเขต ๑ จังหวัดนครราชสีมา และได้มีข้อค้นพบที่ยืนยันถึงความสำาคัญของฐานะทาง
เศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการลงคะแนนเสียง นั่นคือ บุคคลที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมเหมือนกัน
จะมีพฤติกรรมการเลือกตั้งไปในทางเดียวกัน ในกรณีดังกล่าว พบว่าบุคคลที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง
จะไปลงคะแนนเสียงอย่างมีจิตสำานึกทางการเมืองและคำานึงถึงพรรคเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ ในขณะที่บุคคล
ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตำ่าจะไปลงคะแนนเสียงในเชิงประเพณีและยึดตัวบุคคลเป็นเกณฑ์ตัดสินใจ
(นัฐพงศ์ สุขวิสิฎฐ์, 2535, บทคัดย่อ)