Page 29 - kpiebook63013
P. 29

29








                          2. กำรอธิบำยด้วยปัจจัยภำยใน


                          แนวทางการอธิบายนี้เชื่อว่าการตัดสินใจลงคะแนนเป็นผลจากปัจจัยหรือเงื่อนไขที่เกิดขึ้นภายในตัว
                  ผู้ลงคะแนนเอง โดยผู้ลงคะแนนแต่ละคนนั้นเมื่อรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ แล้วสามารถคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ตัดสินใจ

                  เลือกได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือสิ่งเร้าบางอย่างก็ได้ โดย
                  ปัจจัยภายในนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น สภาพอารมณ์ แรงจูงใจ สิ่งเร้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม

                  ปัจจัยภายในบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างมีความคงที่และสามารถใช้อธิบายถึงพฤติกรรมการลงคะแนนได้อย่าง
                  เหมาะสม เช่น บุคลิกภาพ ความเชื่อ อุดมการณ์ เป็นต้น โดยสามารถแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่


                          2.1 ส�านักจิตวิทยาสังคม


                          แนวทางนี้อธิบายพฤติกรรมการเลือกตั้งโดยให้ความสำาคัญกับปัจจัยภายใน เริ่มต้นจากนักวิจัย

                  ในมหาวิทยาลัยมิชิแกน อย่าง Angus Campbell Phillip E. Converse Warren Miller David E. Stokes
                  ได้คัดค้านแนวทางของสำานักชิคาโกที่เน้นการอธิบายโดยอาศัยปัจจัยภายนอก ข้อโต้แย้งหลักของพวกเขาคือ

                  ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเสถียรและเปลี่ยนแปลงได้ช้า นั่นหมายความว่า หากพฤติกรรม
                  การเลือกตั้งขึ้นกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมจริง พฤติกรรมการลงคะแนนของคนก็จะต้องคงที่หรืออยู่ใน

                  รูปแบบเดิมหรืออย่างน้อยก็ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ แต่ในโลกของความเป็นจริงผลคะแนนการเลือกตั้ง
                  ประธานาธิบดีกลับเปลี่ยนแปลงไปมาอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของคนอเมริกัน

                  ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก (โปรดดู Neimi, Richard G. and Weisberg, Herbert F., 1984, p.12) ฉะนั้น
                  สำานักนี้จึงใช้แนวทางการอธิบายใหม่ว่าปัจจัยทางจิตวิทยาต่างหากที่เป็นตัวกำาหนดพฤติกรรมการเลือกตั้งของ

                  คน โดยใช้องค์ความรู้ด้านจิตวิทยาสังคม (Social Psychology) มาอธิบาย ตัวอย่างของปัจจัยทางจิตวิทยา
                  ที่สำานักนี้ใช้ศึกษา เช่น ความผูกพันต่อพรรคการเมือง ความโน้มเอียงในนโยบายหาเสียงแบบใดแบบหนึ่ง

                  อยู่ก่อนแล้ว ความชื่นชอบหรือผูกพันในตัวผู้สมัครลักษณะใดลักษณะหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว เป็นต้น


                          ในกรณีของประเทศไทย ได้มีการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งตามแนวทางนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
                  ในปี 2541 จุฑาทิพย์ ชยางกูร ได้ศึกษาเรื่อง อิทธิพลของโฆษณาทางการเมืองที่มีต่อทัศนคติและพฤติกรรม

                  ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และพบว่าประชากรส่วนใหญ่เห็นว่ามีความจำาเป็นต้องพิจารณาการโฆษณา
                  หาเสียงของแต่ละพรรคก่อนการเลือกตั้ง ทำาให้การโฆษณาทางการเมืองมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนน

                  (โดยพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง) กลุ่มตัวอย่างยังเห็นด้วยว่าภาพลักษณ์ของนักการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจ
                  ลงคะแนนเสียงของพวกเขาและเห็นว่าภาพลักษณ์ของนักการเมืองนั้นสำาคัญกว่านโยบายที่ใช้ในการหาเสียง

                  นอกจากนี้ยังพบว่า สื่อหาเสียงต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่าง (อยู่ในระดับปานกลาง)
                  โดยสื่อหาเสียงที่ค่อนข้างมีอิทธิพล คือ การปราศรัยทางโทรทัศน์ การปราศรัยในที่ชุมชน และการโฆษณาทาง

                  โทรทัศน์ (จุฑาทิพย์ ชยางกูร, 2541, บทคัดย่อ)


                          ในปี 2543 บันลือศักดิ์ แสงสว่าง ได้ศึกษาเรื่อง กระบวนการสร้างภาพทางการเมืองของผู้สมัคร
                  รับเลือกตั้ง: ศึกษาการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2543 โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ข้อสรุปว่าการรณรงค์
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34