Page 28 - kpiebook63013
P. 28

28    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      ในปี พ.ศ.2543 โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และ ถวิลวดี บุรีกุล ได้ทำาการศึกษาเรื่อง ความต่อเนื่องของ

             ประชาธิปไตยไทย การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา 2543 มีข้อค้นพบที่สอดคล้องกับงานของสุจิตและพรศักดิ์ นั่นคือ
             ผู้ที่อาศัยอยู่ในชนบทและมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมตำ่าจะมีระดับความพึงพอใจต่อระบอบประชาธิปไตย

             สูงกว่าผู้ที่อาศัยในเมืองและมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงกว่า หรือในงานศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของ
             ประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2543 พบว่าปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมส่งผลต่อการมี

             ส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง โดยเพศเป็นปัจจัยที่กำาหนดพฤติกรรมได้ นั่นคือ เพศชายจะมีส่วนร่วมทางการเมือง
             มากกว่าผู้หญิง นอกจากนี้ ถิ่นฐานก็มีผลต่อการมีส่วนร่วมด้วย กล่าวคือ ผู้ที่พักอาศัยในเมืองหรือชานเมืองของ

             กรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมทางการเมืองตำ่ากว่าผู้ที่พักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด เป็นต้น (โรเบิร์ต บี อัลบริททัน
             และ ถวิลวดี บุรีกุล, 2543)


                      1.2 การอธิบายโดยใช้สถาบันและกฎหมาย


                      แนวทางนี้ให้ความสำาคัญกับเงื่อนไขภายนอกที่มากำาหนดพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลเช่นกัน หากแต่
             ระบุลงไปว่าเป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการสถาบันทางการเมืองและกฎหมาย กล่าวคือ มีสมมติฐานว่าการปฏิบัติ

             การและการทำาหน้าที่ของสถาบันทางการเมืองและกฎหมายย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน

             ทั้งนี้เพราะสถาบันทางการเมืองและกฎหมายนั้นมีสภาพบังคับ (ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ) ดังนั้น
             จึงสามารถส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ กฎหมายเกี่ยวกับ
             การเลือกตั้ง บทบาทของผู้จัดการเลือกตั้ง บทบาทของรัฐบาล คำาตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ การทำาหน้าที่ของ

             พรรคการเมือง รูปแบบของระบบการเลือกตั้ง กติกาในการหาเสียง เป็นต้น


                      สำาหรับงานวิจัยในไทยอาจจะยังไม่มากนัก ตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่อง ระบบเลือกตั้งกับการคาดคะเน

             ชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง ของ พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ ที่อธิบายว่าหากมีการเปลี่ยนระบบ
             การเลือกตั้งจะทำาให้ผลคะแนนของแต่ละพรรคการเมืองเปลี่ยนไป แต่ไม่ได้อธิบายในประเด็นที่ว่าการเปลี่ยนระบบ
             เลือกตั้งจะส่งผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของประชาชนอย่างไร (โปรดดู พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, 2558)

             ในกรณีของต่างประเทศงานของ Thomas Fujiwara เรื่อง Voting Technology, Political Responsiveness

             and Infant Health Evidence from Brazil เป็นตัวอย่างที่ดีของการศึกษาในแนวทางนี้ กล่าวคือ Fujiwara
             อธิบายว่า ในช่วงทศวรรษ 1990 บราซิลมีประชากรที่ยังไม่รู้หนังสือประมาณร้อยละ 23 ในขณะที่รูปแบบ
             การเลือกตั้งยังมีความยุ่งยากในการลงคะแนนจนเป็นอุปสรรคต่อผู้ลงคะแนนอย่างมาก เนื่องจากผู้ลงคะแนน

             จำาเป็นต้องกรอกเบอร์ของผู้สมัครที่ตนต้องการเลือก และบางครั้งในการเลือกตั้งมีผู้ลงสมัครรับการเลือกตั้ง

             เป็นจำานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเลือกตั้งพร้อมกันทั้งในระดับประเทศและระดับ
             ท้องถิ่น การกำาหนดเบอร์ของผู้สมัครจึงมีความซับซ้อนเพราะอาจมีหลายหลัก จนทำาให้เกิดความสับสนกับ
             ผู้ลงคะแนน จำานวนบัตรเสียและการงดออกเสียงจึงมีสัดส่วนที่สูงมาก ต่อมาในปี 1998 ระบบการลงคะแนนเสียง

             แบบอิเล็กทรอนิกส์จึงถูกนำามาใช้เพื่อลดปัญหาดังกล่าว โดยออกแบบให้มีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายขึ้น มีรูปและชื่อ

             ของผู้รับสมัครปรากฏชัดเจนบนหน้าจอ ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งของประชาชนจึงมีมากขึ้นและทำาให้จำานวน
             สัดส่วนบัตรดีก็เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เป็นต้น (โปรดดู Fujiwara, Thomas, 2015, p.423-464) ข้อสรุปของ
             งานวิจัยนี้จึงค่อนข้างชัดเจนว่าระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ลงคะแนนอย่างมาก
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33