Page 30 - kpiebook63013
P. 30
30 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หาเสียงของพรรคการเมืองและผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มีการนำาเอาวิธีการโฆษณาและ
การประชาสัมพันธ์มาใช้สร้างภาพลักษณ์ของตนเองเพื่อให้ผู้ลงคะแนนเลือกตั้งรับรู้และเกิดความรู้สึกที่ดีต่อ
ผู้สมัคร บันลือศักดิ์ สรุปว่า การสร้างภาพลักษณ์ของผู้สมัครนั้นไม่ต่างจากการสร้างภาพของสินค้าในเชิงพาณิชย์
แต่อย่างใด (บันลือศักดิ์ แสงสว่าง, 2544, บทคัดย่อ)
ในปี 2545 ได้มีการศึกษา พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในกรณีจังหวัดสกลนคร ของ
ทศพล สมพงษ์ โดยพยายามค้นหาว่ามีการสร้างแรงจูงใจในการลงคะแนนเสียงหรือไม่และอะไรคือแรงจูงใจที่
ทำาให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัคร ผลจากการศึกษาพบว่าผู้สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในเขตพื้นที่
นั้นได้มีการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนไปลงคะแนนเสียงให้กับตน โดยวิธีการหรือสิ่งที่ใช้
ในการจูงใจได้แก่ การแจกจ่ายสิ่งของ การบริจาคเงินให้กับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ การแจกเงินโดยตรง
รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ของชุมชน (ทศพล สมพงษ์, 2545)
2.2 ส�านักทางเลือกสาธารณะ
สำานักทางเลือกสาธารณะเป็นแนวทางการอธิบายพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนโดยใช้
แนวคิดทางด้านการตลาดหรือทางเศรษฐศาสตร์มาทำาความเข้าใจ โดยมักจะมีสมมติฐานเบื้องต้นว่ากิจกรรม
การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นไม่ต่างจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดมากนัก พรรคการเมืองเป็นผู้ผลิตสินค้า
(นโยบายที่ใช้ในการหาเสียง) ประชาชนเป็นผู้เลือกบริโภคสินค้าของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
(ลงคะแนนเสียงให้) โดยการใช้ดุลพินิจในการเลือกของประชาชนนั้นมักจะอยู่บนฐานของการคิดคำานึงถึงประโยชน์
ที่ตัวเองจะได้รับโดยการใช้เหตุผลในการคำานวนหรือเปรียบเทียบหรือประมวลผล ทั้งนี้ ทฤษฎีที่ถูกนำามาใช้
อธิบายถึงพฤติกรรมทางการเมืองตามแนวทางนี้เป็นอย่างมากคือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการกระทำาทาง
การเมืองในระบอบประชาธิปไตย (An Economic Theory of Democracy) ของ Anthony Downs
ทั้งนี้ Downs อธิบายว่า สมมติฐานเบื้องต้นของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการกระทำาทางการเมือง
ในระบอบประชาธิปไตยนั้นควรต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานและสอดคล้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้ (เพื่อให้
การอธิบายพฤติกรรมของประชาชนตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด)
1. การปกครองหมายถึงหน่วยหนึ่งในระบบการแบ่งงานซึ่งมีอำานาจที่จะบังคับบัญชาหน่วยอื่น ๆ
ในสังคมได้ทั้งหมด การปกครองจึงเป็นสถานที่ของ “อำานาจขั้นสุดท้าย” ในพื้นที่ทางการเมืองหนึ่ง ๆ
2. ประชาธิปไตย เป็นระบบการเมืองการปกครองอย่างหนึ่งที่มีลักษณะดังนี้
2.1 มีสองพรรคการเมืองหรือมากกว่านั้นในการลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อที่จะเข้าไปกุมกลไก
การปกครองของรัฐ
2.2 พรรคการเมือง (หรือพรรคร่วม) ที่ได้รับชัยชนะจากการลงคะแนนของเสียงส่วนใหญ่จะได้
กุมกลไกการปกครองรัฐจนกระทั่งมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป