Page 34 - kpiebook63013
P. 34

34    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                      ส่วนกระบวนการในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกนั้น Downs ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการตัดสินใจ

             อย่างมีเหตุมีผลว่าประชาชนไว้ดังต่อไปนี้


                      1) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ของผู้ลงคะแนน (ประเด็น
             สำาคัญที่จะใช้สำาหรับตัดสินใจในทางการเมืองของแต่ละคน)


                      2) ผู้ลงคะแนนจะทำาการคัดเลือกข้อมูลที่จำาเป็นต่อการออกเสียงจากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รวบรวม

             เอาไว้สำาหรับแต่ละประเด็น


                      3) ผู้ลงคะแนนวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในแต่ละประเด็นเพื่อจะนำาไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับทางเลือกนโยบาย
             ต่าง ๆ ที่เป็นไปได้และผลที่เกิดตามมาของแต่ละทางเลือก


                      4) ผู้ลงคะแนนประเมินผลที่จะเกิดตามมาของแต่ละทางเลือกในประเด็นต่าง ๆ ว่าสอดคล้องกับ
             เป้าหมายของตนเองหรือไม่


                      5) ผู้ลงคะแนนนำาเอาผลการประเมินของแต่ละประเด็นที่เราสนใจมาประเมินรวมกันเป็นผลการประเมิน

             สุทธิ (net evaluation) ของแต่ละพรรคการเมืองในช่วงการเลือกตั้งหนึ่ง ๆ ซึ่งขั้นตอนนี้ยังเป็นการตัดสินใน
             เชิงคุณค่าส่วนบุคคลที่พยายามปรับเข้าหาเป้าหมายส่วนตัวของเขาเอง


                      6) ผู้ลงคะแนนทำาการตัดสินใจโดยการเปรียบเทียบผลการประเมินสุทธิ (net evaluation) ของแต่ละ

             พรรคการเมืองและชั่งนำ้าหนักสำาหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


                      7) ผู้ลงคะแนนออกไปลงคะแนนเสียงหรือไม่ไปลงคะแนน (โปรดดู Downs, Anthony, 1957, p.209)


                      ในกรณีงานวิจัยของไทยที่ศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนโดยใช้แนวทางเลือกสาธารณะ
             พบค่อนข้างน้อย อย่างเช่นในปี 2557 นิติ มณีกาญจน์ ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้าการเมืองของ
             ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผลการศึกษาพบว่า คุณสมบัติของสินค้าการเมือง (ซึ่งหมายความถึงนโยบาย

             ของพรรคการเมือง) ที่ประชาชนสนใจต้องการ “ซื้อ” มากที่สุดคือ นโยบายที่ทำาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการ

             ด้านต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างเท่าเทียมกัน ส่วนตราสินค้าการเมือง (ซึ่งก็คือพรรคการเมือง) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
             ในการลงคะแนนเสียงมากที่สุดคือพรรคการเมืองที่สามารถสร้างการติดต่อสื่อสารกับประชาชนได้จริง และ
             ในด้านรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าการเมือง (รูปแบบการตัดสินใจลงคะแนน) พบว่ารูปแบบการตัดสินใจที่

             มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือเมื่อถึงตอนลงคะแนนจริงประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครจะตัดสินใจด้วยตนเองมากกว่า

             ฟังคนอื่น (นิติ มณีกาญจน์, 2557, น.114)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39