Page 39 - kpiebook63013
P. 39

39







                  2.4 พระรำชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่ำด้วย


                  กำรเลือกตั้งสมำชิกสภำผู้แทนรำษฎร พ.ศ.2561



                          พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
                  ถูกตราขึ้นด้วยเหตุที่ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติประกอบ

                  รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                  เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ต่อมาจึงได้ประกาศพระราชบัญญัติประกอบ
                  รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 68 ก
                  เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 โดยมีสาระสำาคัญและมีความแตกต่างจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

                  ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งก่อน ดังต่อไปนี้ (โปรดดู พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

                  ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561, 2561, น.40-97)

                          มาตรา 11 ได้ระบุถึงจำานวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ

                  กล่าวคือ เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำาเนินการ
                  จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำานวนสามร้อยห้าสิบคน และดำาเนินการ
                  เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองรวมจำานวนหนึ่งร้อยห้าสิบคน

                  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้


                          มาตรา 13 และมาตรา 14 กล่าวถึงการเสนอชื่อบุคคลของพรรคการเมืองเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี
                  โดยให้พรรคการเมืองแจ้งรายชื่อบุคคลซึ่งพรรคการเมืองนั้นมีมติว่าจะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา

                  ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกินสามรายชื่อต่อคณะกรรมการก่อนปิดการรับสมัครรับเลือกตั้ง
                  และให้คณะกรรมการประกาศรายชื่อบุคคลดังกล่าวพร้อมกับชื่อของพรรคการเมืองนั้นให้ประชาชนทราบ

                  เป็นการทั่วไป เมื่อพรรคการเมืองแจ้งรายชื่อบุคคลใดแล้ว บุคคลนั้นหรือพรรคการเมืองนั้นจะถอนรายชื่อ
                  หรือเปลี่ยนแปลงรายชื่อบุคคลนั้นได้เฉพาะกรณีบุคคลนั้นตายหรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม

                  อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองจะไม่เสนอรายชื่อบุคคลก็ได้ แต่หากเสนอชื่อบุคคลใดแล้ว พรรคการเมืองจะต้องมี
                  หนังสือยินยอมของบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อและบุคคลนั้นจะต้องไม่เคยทำาหนังสือยินยอมให้กับพรรคการเมืองอื่น


                          มาตรา 18 กล่าวถึงเจ้าพนักงานผู้ดำาเนินการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้อำานวยการการเลือกตั้งประจำา
                  เขตเลือกตั้งหนึ่งคน มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับสมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และดำาเนินกิจการที่จำาเป็น

                  (2) คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสามคน มีหน้าที่กำาหนดหน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง
                  การจัดทำาบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การเพิ่มและการถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง รวมทั้งมีหน้าที่

                  กำากับดูแลการออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน และการประกาศผลการนับคะแนน

                          มาตรา 19 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาเขตเลือกตั้งแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นเจ้าพนักงาน

                  ผู้ดำาเนินการเลือกตั้ง ดังต่อไปนี้ (1) คณะกรรมการประจำาหน่วยเลือกตั้งห้าคน มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกเสียง
                  ลงคะแนนในที่เลือกตั้งและนับคะแนนของหน่วยเลือกตั้งแต่ละแห่ง ในกรณีที่หน่วยเลือกตั้งใดมีผู้มีสิทธิ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44