Page 43 - kpiebook63013
P. 43
43
2.5 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ชวน เพชรแก้ว วิศาล ศรีมหาวโร ราตรี นันทสุคนธ์ พูลฉัตร วิชัยดิษฐ บรรเจิด เจริญเวช และ
อรุณ หนูขาว (2558) ศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 : จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบรรยากาศทางการเมือง
และความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กร และกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร ศึกษาความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร ศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์การสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาท
เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศึกษาแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนและกลุ่ม
การเมืองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ และเพื่อนำาเสนอแนวทางการพัฒนา
ปรับปรุงกระบวนการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นกระบวนการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
ของประเทศให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร วิธีการสังเกต
และสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลภาคสนามแล้วนำาข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและนำาเสนอด้วยวิธีพรรณนา
วิเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา คือ ก่อนการเลือกตั้ง ขณะเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้ง และการวินิจฉัย
และคัดค้านการเลือกตั้ง ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ความเคลื่อนไหวก่อนการเลือกตั้งพบว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จำานวนทั้งหมด 40 คน และแต่ละเขตมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยเขต 1 มีจำานวน 8 คน
เขต 2 มีจำานวน 5 คน เขต 3 มีจำานวน 8 คน เขต 4 มีจำานวน 6 คน เขต 5 มีจำานวน 7 คน และเขต 6 มีจำานวน
6 คน พบวิธีการหาเสียง 4 วิธี ได้แก่ วิธีการติดป้ายหาเสียง การใช้รถยนต์ติดตั้งเครื่องขยายเสียงและป้าย
ผู้สมัคร การเดินหาเสียงด้วยตัวผู้ตัวสมัคร และญาติพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องเดินแจกแผ่นพับหรือเอกสารหาเสียง
ผู้สนับสนุนหรือหัวคะแนนส่วนใหญ่เป็นผู้นำาท้องถิ่น ผู้นำาชุมชนและผู้มีอิทธิพล รวมทั้งญาติพี่น้อง บทบาทของ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาเขต
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำาหนด ได้แก่ การทำาเอกสารประชาสัมพันธ์ สปอตวิทยุ ติดประกาศรายชื่อของ
ผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จัดเวทีกลางเพื่อให้พรรคปราศรัยหาเสียง เป็นต้น ข้าราชการส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลาง
ไม่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรที่ชัดเจน สื่อมวลชนระดับชาติมีบทบาทมากกว่าสื่อมวลชนระดับท้องถิ่น
ในการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง สื่อรูปแบบอื่น ๆ ที่ใช้มากคือ สื่อออนไลน์ และไม่พบความเคลื่อนไหวทางการเงิน
ที่ชัดเจน 2) ความเคลื่อนไหวขณะเลือกตั้ง พบว่า ด้านการบริหารจัดการเลือกตั้ง สำานักงานคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประจำาจังหวัด ได้มีการจัดประชุมครูโครงการเรียนรู้ประชาธิปไตย การประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
การประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาเขต และการรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนการเลือกตั้งล่วงหน้า
และในวันเลือกตั้ง พบว่าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ต่างทยอยมาใช้สิทธิในช่วงเช้า
3) ความเคลื่อนไหวหลังการเลือกตั้ง พบว่า มีผู้มาใช้สิทธิจำานวน 537,002 คน คิดเป็นร้อยละ 74.55 บัตรเสีย
28,471 คน คิดเป็นร้อยละ 5.30 ไม่ประสงค์ลงคะแนน 30,973 คน คิดเป็นร้อยละ 5.77 ผู้ได้รับการเลือกตั้ง
ทั้ง 6 เขต เป็นผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด 4) การวินิจฉัยและคัดค้านการเลือกตั้ง พบว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ไม่ปรากฏการร้องเรียนใด ๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง จากผลการวิจัยครั้งนี้ได้แนวทางการพัฒนาปรับปรุง คือ