Page 44 - kpiebook63013
P. 44

44    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่าควรพัฒนาความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนเพื่อกำาหนดนโยบายต่าง ๆ

             ไม่ใช่การเมืองเป็นการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ควรพัฒนาการเมืองภาค
             ประชาชนให้มีความเข้มแข็งให้มีบทบาทในการควบคุม กำากับ และตรวจสอบระบบการเมืองได้ สำาหรับข้อเสนอ

             แนะเพื่อการจัดการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำาจังหวัดต้องประสานงานและซักซ้อมกับหน่วยงาน
             ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด การจัดสถานที่ควรมีความเหมาะสมโดยเฉพาะสถานที่จอดรถ

             ควรใช้ระบบการลงทะเบียนในการเลือกตั้งล่วงหน้าต่อครั้ง และจัดอบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจระเบียบวิธีการเลือกตั้ง
             เพื่อการแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่อาจจะมีขึ้นให้ถูกต้องและรวดเร็ว


                      รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ (2553) ศึกษาวิจัยเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์

             คือ 1) เพื่อทราบถึงเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อทราบบทบาทและ
             ความสัมพันธ์ของนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับพรรคการเมือง 3) เพื่อทราบถึงกลวิธีการหาเสียงของ

             นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) เพื่อทราบประวัติและผลงานของของนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี
             โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพทางสังคมศาสตร์ เครื่องมือสำาคัญที่ใช้ในการวิจัย คือการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี

             และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์นักการเมืองถิ่น ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง
             ถิ่นและประชาชนทั่วไปในจังหวัดสุราษฎร์ธานีในประเด็นที่เกี่ยวกับนักการเมืองถิ่นในด้านภูมิหลัง เครือข่ายและ

             ความสัมพันธ์ กลวิธีการหาเสียง และพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษา
             พบว่า นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่มีภูมิหลังมาจากการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นของพรรค

             ประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคเก่าแก่ มีการจัดตั้งมานาน และมีความชัดเจนทางการเมือง นักการเมืองถิ่นจังหวัด
             สุราษฎร์ธานีมีพรรคพวก มีบริวาร เป็นตัวแทนของประชาชนเมื่อประชาชนเดือดร้อน ในด้านเครือข่าย และ

             ความสัมพันธ์ นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีเครือข่ายความสัมพันธ์ในลักษณะทายาททางการเมือง
             เครือญาติ หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ นักการเมืองถิ่นสุราษฎร์ธานีมีเครือข่ายกระจายอยู่ทุกพื้นที่

             มีการจัดตั้งหัวคะแนน มีตัวแทนทำางานในพื้นที่ มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง มีฐานคะแนนเสียงค่อนข้างมั่นคง ในด้าน
             กลวิธีการหาเสียง นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีกลวิธีการหาเสียงเหมือน ๆ กัน คือ การลงพื้นที่พบปะ

             ประชาชนด้วยตนเองทั้งในช่วงที่มีและไม่มีการเลือกตั้ง การขยันลงพื้นที่ การไปร่วมกิจกรรม งานบุญประเพณีต่าง ๆ
             การร่วมกิจกรรมทางสังคม การปราศรัยใหญ่เพื่อแถลงนโยบายของพรรคในส่วนกลางของจังหวัด ประชาชนใน

             พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงมีความผูกพันอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์มาทุกยุคทุกสมัย บุคคลที่จะเป็นนักการเมือง
             ถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีต้องเป็นตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งจะหมายถึงการเป็นตัวแทนประชาชนด้วย (พรรค

             เลือกคน ประชาชนเลือกพรรค) นักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์ไปอยู่
             พรรคอื่นจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่พอย้ายกลับมาอยู่ที่พรรคก็จะได้รับการเลือกตั้งเช่นเดิม พรรคประชาธิปัตย์

             ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี หรืออาจกล่าวได้ว่าประชาชน
             ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความผูกพันกับนักการเมืองถิ่นผ่านทางพรรคมากกว่าตัวบุคคล พรรคประชาธิปัตย์

             จึงครองที่นั่งของนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาตลอดระยะเวลายาวนานหลายสมัย
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49