Page 33 - kpiebook63013
P. 33
33
“มนุษย์ผู้มีเหตุผล” ของนักเศรษฐศาสตร์นั้น หมายความไปถึงมนุษย์ผู้ซึ่งพยายามมุ่งสู่เป้าหมายของเขา
ด้วยวิธีการใดเท่าที่เขาพอจะมีปัญญาคิดได้ โดยใช้ปัจจัยนำาเข้าจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำากัดให้น้อยที่สุด
ต่อผลที่มีค่าหนึ่งหน่วย (Downs, Anthony, 1957, p.5)
ตัวอย่างของพฤติกรรมที่มีเหตุผลในมุมมองของเศรษฐศาสตร์ก็เช่น นักบวชซึ่งมีเป้าหมายในการ
เข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้การบรรลุเป้าหมายนั้นเป็นไปได้ นักบวชจะต้องทำาลายหรือตัดความคิดที่เต็มไปด้วย
ตรรกะเหตุผลและทำาลายสำานึกในการแสวงหาให้หมดสิ้น แม้การกระทำานั้นจะดูเหมือนไม่มีเหตุผล (เพราะนักบวช
ทำาลายเหตุผลและตรรกะทิ้ง) กระนั้น เราก็จะเห็นได้ว่าการทำาลายดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการกระทำาที่มีเหตุผลอยู่ดี
ดังนั้นแล้ว Downs จึงสรุปว่า พฤติกรรมของมนุษย์ผู้มีเหตุผล (rational man) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ
1) เขาจะตัดสินใจเสมอเมื่อต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกต่าง ๆ
2) เขาจะจัดลำาดับทางเลือกต่าง ๆ ไปตามความพอใจของเขา ซึ่งจะมีบางทางเลือกที่เขาชอบมากกว่า
บางทางเลือกชอบน้อยกว่า
3) การจัดลำาดับนั้นเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง
4) เขาจะเลือกทางเลือกที่เขาจัดลำาดับไว้สูงสุด
5) เขายังจะเลือกทางเลือกนี้เสมอหากเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่แตกต่างกัน
อนึ่ง ผู้ตัดสินใจที่มีเหตุผลในตัวแบบของ Downs นั้น สามารถหมายความไปถึงพรรคการเมือง
กลุ่มผลประโยชน์ รัฐบาล ได้ทั้งสิ้น (โปรดดู Downs, Anthony, 1957, p.6)
ในกรณีของการเลือกตั้ง Downs อธิบายว่า หากมีสองพรรคการเมืองใหญ่ ประชาชนแต่ละคน
จะลงคะแนนให้พรรคที่เขาเชื่อว่าจะให้อรรถประโยชน์แก่เขาได้มากที่สุดมากกว่าพรรคอื่นในช่วงเวลาที่กำาลัง
จะมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป และเพื่อที่จะรู้ว่าควรจะเลือกพรรคไหน ประชาชนจะเปรียบเทียบอรรถประโยชน์
ระหว่างสองพรรคว่าถ้าได้เป็นพรรครัฐบาลแล้วเขาจะได้ประโยชน์อย่างไร ถ้าพรรคฝ่ายรัฐบาลสามารถจะให้
อรรถประโยชน์ให้มากกว่าพรรคฝ่ายค้าน เขาก็จะเลือกพรรคเดิมกลับเข้าไปเป็นรัฐบาลอีก แต่ถ้าพรรคฝ่ายค้านให้
อรรถประโยชน์ได้มากกว่าเขาก็จะเลือกฝ่ายค้าน แต่ถ้าหักลบแล้วเท่ากัน เป็นไปได้สูงว่าเขาจะไม่ลงคะแนนเสียง
สำาหรับผู้ออกเสียงที่มีเหตุมีผล เขาจะคำานวนถึงอรรถประโยชน์ที่จะได้ กล่าวคือ เมื่อคนคนหนึ่ง
ไปลงคะแนน นั่นหมายความว่า เขากำาลังตัดสินใจเลือกรัฐบาลที่จะปกครองเขาไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง
ครั้งต่อไป ดังนั้น เขาจะทำาการตัดสินใจโดยการเปรียบเทียบถึงการทำางานในอนาคตที่เขาคาดหวังไว้จาก
พรรคการเมืองทั้งสอง แต่ถ้าเขามีเหตุผลมากพอ เขาย่อมจะรู้ว่าไม่มีพรรคการเมืองใดที่สามารถจะทำาทุกอย่าง
ตามที่ได้หาเสียงไว้ ดังนั้น เขาจึงไม่สามารถเปรียบเทียบคำาปราศรัยหรือนโยบายที่ใช้หาเสียงของทั้งสองพรรค
ได้อย่างเต็มที่ แต่เขาจะต้องประมาณไว้ในใจของตนเองว่าแต่ละพรรคจะทำาได้จริงแค่ไหนหากได้อยู่ในอำานาจ
(Downs, Anthony, 1957, p.39)