Page 32 - kpiebook63013
P. 32

32    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








             พรรครัฐบาลนั้น จึงเป็นเพียงผลพลอยได้ของการสนองเป้าหมายส่วนตัวของผู้คนเหล่านั้น (a byproduct

             of their private motive) อันเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งรายได้, อำานาจ และความมีอภิสิทธิ์ต่าง ๆ ในฐานะ
             ผู้กุมอำานาจรัฐ” (Downs, Anthony, 1957, p.137)


                      ในส่วนของประชาชน เขามองว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นผู้ที่มีเหตุผลและคำานึงถึงประโยชน์

             ของตนเอง ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะพิจารณาว่าการลงคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองหรือผู้สมัคร
             คนใดคนหนึ่งนั้นทำาให้อรรถประโยชน์ที่เขาได้รับนั้นเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ หรือในบางครั้งเขาก็กล่าวว่า ผู้มีสิทธิ

             ออกเสียงเลือกตั้งจะพิจารณาว่าการเลือกพรรคการเมืองหรือผู้สมัครคนใดที่จะทำาให้เขาได้ผลตอบแทน
             มากที่สุด (Downs, Anthony, 1957, p.138)


                      Downs กล่าวว่า สำาหรับนักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มักจะมองว่าการตัดสินใจใด ๆ ของมนุษย์จะทำา

             ไปด้วยความคิดที่มีเหตุผล (ration minds) ซึ่งความคิดดังกล่าวจะช่วยในการทำานายหรือคาดการณ์พฤติกรรม
             ของคนได้ นักเศรษฐศาสตร์จึงต้องพยายามทำาความเข้าใจว่าพฤติกรรมใดที่จะเกิดขึ้น (Downs, Anthony, 1957,
             p.4) หากมองในเชิงปรัชญา แนวคิดนี้จะมองว่ามันไม่มีอะไรที่ดำารงอยู่ก่อน (a priori reason) ที่จะประมวลว่า

             สิ่งที่ทำานั้นมีเหตุผล กล่าวได้ว่าเหตุผลนั้นเชื่อมโยงโดยตรงกับสำานึก ดังนั้น ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จึงตั้งอยู่

             บนแนวคิดหรือการคาดการณ์ว่าในสำานึก (conscious) ของมนุษย์นั้นมีความเป็นเหตุเป็นผลอยู่แล้ว (ต่างไปจาก
             แนวทางของสำานักจิตวิทยาที่ไม่ได้มองว่าจิตของมนุษย์มีเพียงด้านที่เป็น “เหตุผล” เท่านั้น)


                      Downs ยอมรับว่าวิธีการในการวิเคราะห์และทำานายตามตัวแบบของเขานั้นยังจะยึดถือในรูปแบบ
             ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม เนื่องจากว่าถ้านักทฤษฎีรู้เป้าหมายของผู้ที่ทำาหน้าที่ตัดสินใจ ดังนั้น เขาย่อม

             สามารถทำานายว่าการกระทำาหรือพฤติกรรมใดที่จะเกิดขึ้น นั่นคือ

                      1) เขาจะคำานวนหาทางที่มีเหตุผลที่สุดในการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

                      2) เขามองว่าหนทางนี้จะถูกเลือกเพราะว่าผู้ที่ตัดสินใจนั้นเป็นผู้ที่มีเหตุผล


                      ฉะนั้น การวิเคราะห์ในทางเศรษฐศาสตร์จึงประกอบด้วยสองขั้นตอนหลัก คือ การค้นพบเป้าหมาย
             ที่ผู้ตัดสินใจต้องการ และ วิเคราะห์ว่าวิธีการหรือการกระทำาแบบไหนที่มีเหตุมีผลมากที่สุดในการจะนำาไปสู่

             การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว Downs กล่าวว่าการนิยามคำาว่ามีเหตุผล (rationality) อยู่บนสมมติฐานที่ว่า
             มนุษย์ย่อมทำาไปตามประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง (Downs, Anthony, 1957, p.4)


                      การเข้าใจความมีเหตุผลในลักษณะดังกล่าวนี้ทำาให้มองเห็นได้ว่า ความมีเหตุผลก็คือความมี
             ประสิทธิภาพ (rational as efficient) กล่าวคือ ความมีเหตุผลก็คือการทำาผลให้ได้มากที่สุดภายใต้ปัจจัยนำาเข้า

             ที่จำากัด หรือ การใช้ปัจจัยนำาเข้าน้อยที่สุดเพื่อให้ได้ผลที่ต้องการ ดังนั้นแล้ว นักเศรษฐศาสตร์จึงมองว่า

             มนุษย์เหตุผล (rational man) ไม่ได้หมายถึงมนุษย์ที่กระบวนการทางความคิดประกอบด้วยตรรกะอย่าง
             ถูกต้อง หรือมนุษย์ที่ปราศจากอคติ หรือมนุษย์ที่ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่คำานิยาม
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37