Page 26 - kpiebook63013
P. 26
26 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทั้งนี้ ปัจจัยสามประการหลักข้างต้น อันได้แก่ การกำาหนดเขต จำานวนผู้แทนที่พึงมี การคิดคะแนน
หาผู้ชนะ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ได้ทำาให้ระบบเลือกตั้งในโลกมีหลากหลายระบบเป็นอย่างมาก
ในกรณีระบบการเลือกตั้งของไทยใน ปี พ.ศ. 2562 มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นการให้พรรคการเมืองจัดทำา
บัญชีรายชื่อแบบเปิดไว้ แต่ไม่ให้มีการลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองโดยตรง และใช้การแบ่งเขตเลือกตั้ง
เป็นเขตเล็ก เลือกตัวแทนได้หนึ่งคน และนำาคะแนนของคนที่ไม่ได้รับเลือกทุกคนไปเป็นคะแนนของพรรคเพื่อ
คำานวณสัดส่วนว่าพรรคการเมืองจะได้ที่นั่งของผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อเท่าไหร่ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการใช้ระบบ
การเลือกตั้งแบบผสมระหว่างการเลือกแบบแบ่งเขตเล็กและแบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้มีการแยกบัตรออกเป็น
สองใบ กลับใช้เพียงใบเดียว ส่วนการนับคะแนนจะเป็นการนับทุกคะแนน ไม่ได้ตัดคะแนนของผู้ที่ไม่ได้คะแนน
สูงสุดทิ้ง ในแง่หนึ่ง ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่ขัดกันเองในเชิงหลักการ กล่าวคือ โดยหลักการแล้ว ข้อดีของ
การแบ่งเขตแบบเขตเล็กย่อมมุ่งหมายให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่เป็นตัวแทนของตนได้จริง ๆ ขณะที่ระบบ
บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองย่อมมีความมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนเลือกพรรคการเมืองหรือบุคคลที่พรรคได้
นำาเสนอไว้ ดังนั้น การนำาคะแนนจากแบบแบ่งเขตไปเป็นคะแนนแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจึงอาจจะมี
ปัญหา แม้ทุกคะแนนจะไม่ถูกตัดทิ้ง แต่มันเป็นความผิดฝาผิดตัว โดยเฉพาะคนที่เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในเขตโดยพิจารณาจากตัวบุคคลมากกกว่าพรรค เพราะหากบุคคลที่เขาเลือกไม่ได้รับชัยชนะในเขต คะแนน
ของประชาชนกลับถูกเอาไปให้พรรคที่ตัวบุคคคลนั้นสังกัด (ซึ่งผู้ที่ลงคะแนนอาจจะไม่นิยมในพรรคนั้นก็เป็นได้)
และถึงแม้จะถ่ายโอนคะแนนไปให้พรรคแล้ว แต่หากพรรคการเมืองดังกล่าวได้คะแนนน้อยเกินไปก็อาจจะ
ทำาให้พรรคนั้นไม่ได้ผู้แทนเลย คะแนนเสียงที่ประชาชนมอบให้นั้นสุดท้ายก็เสมือนว่าถูกตัดทิ้งไปอยู่ดี แต่ถ้า
หากประชาชนไปเลือกตั้งโดยมุ่งหวังที่จะเลือกพรรคการเมืองมากกว่าตัวผู้สมัคร (เพราะชื่นชอบรายชื่อผู้สมัคร
ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นนำาเสนอ) แต่ถ้าหากผู้สมัครที่สังกัดพรรคนั้นได้รับชัยชนะในเขตเลือกตั้ง
โอกาสที่พรรคการเมืองจะได้คะแนนรวมจากทั้งประเทศเพื่อไปคำานวณสัดส่วนผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อของพรรค
ก็น้อยลงไปด้วย ซึ่งก็ไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน
2.2 พฤติกรรมกำรเลือกตั้ง (election behavior)
โดยทั่วไปแล้วพฤติกรรมการเลือกตั้งจะหมายถึงการศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่ออกมาลงคะแนนและ
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับผลการเลือกตั้ง เพื่อที่จะหารูปแบบของการลงคะแนนเสียงของคนกลุ่มต่าง ๆ
หรือในภาพรวมของทั้งประเทศ การศึกษานี้มักจะทำาในเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ
พฤติกรรมด้วย โดยพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนนั้นได้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง
ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี นับตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1900 เป็นต้นมา (ส่วนหนึ่ง
ก็เพื่อที่จะหารูปแบบการลงคะแนนและทำานายผลการเลือกตั้ง) มหาวิทยาลัยที่มีบทบาทอย่างมากและได้จัดตั้ง
ศูนย์ศึกษาและรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการเมืองโดยเฉพาะ ได้แก่ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยชิคาโก
และมหาวิทยาลัยมิชิแกน ทั้งนี้ อาจแบ่งแนวทางการอธิบายถึงพฤติกรรมการเลือกตั้งได้เป็น 2 แนวทางหลัก
คือ การอธิบายจากปัจจัยภายนอก และการอธิบายจากปัจจัยภายใน