Page 22 - kpiebook63013
P. 22

22    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562  จังหวัดสุราษฎร์ธานี








                     1) กำรก�ำหนดเขตเลือกตั้ง


                      การกำาหนดเขตเลือกตั้ง หมายถึง การกำาหนดอาณาบริเวณของพื้นที่ที่ประชากรอาศัยอยู่และให้ประชากร
             ในอาณาบริเวณดังกล่าวเลือกตั้งตัวแทนของพวกเขาได้ โดยทั่วไปแล้ว การกำาหนดเขตเลือกตั้งมักจะใช้การแบ่ง

             ไปตามการแบ่งเขตการปกครองที่มีอยู่แล้ว เช่น อำาเภอ จังหวัด โดยพิจารณาจากจำานวนประชากรที่ใกล้เคียงกัน
             ของแต่ละเขต หรืออาจจะแบ่งเขตโดยพิจารณาตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (อย่างไรก็ตาม การแบ่ง

             เขตเลือกตั้งใหม่อาจจะเป็นไปในลักษณะของยุทธศาสตร์ทางการเมืองเพื่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ
             ในการเลือกตั้ง ตัวอย่างเช่น การแบ่งเขตใหม่เพื่อลดทอนฐานเสียงเดิมของพรรคการเมืองบางพรรคโดย

             การแยกพื้นที่ที่เคยเป็นฐานเสียงของพรรคนั้นออกจากกัน ไปอยู่กันคนละเขตเลือกตั้ง เป็นต้น) โดยทั่วไปแล้ว
             รูปแบบการกำาหนดเขตเลือกตั้งจะมีอยู่อย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้


                      1.1) การแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตเล็ก การแบ่งในลักษณะนี้จะทำาให้ประชากรในเขตเลือกตั้งมีจำานวน

             ไม่มากนัก ส่งผลให้ประชากรอาจจะรู้จักคุ้นเคยกันและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมไปถึงสามารถที่จะรู้จักผู้ลงสมัคร
             ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้ง่าย ตัวผู้ที่ลงสมัครเองก็จะมีความใกล้ชิดคุ้นเคยกับประชาชนในเขตเลือกตั้ง ระยะห่าง

             ระหว่างตัวผู้สมัครกับประชาชนมีน้อย ประชาชนและผู้สมัครจึงสามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลา และด้วย
             ความที่เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่โดยตรง ประกอบกับเขตเลือกตั้งมีขนาดเล็ก ตัวผู้สมัครจึงสามารถรับรู้ปัญหาในพื้นที่ได้

             เป็นอย่างดี จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น การแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตเล็กจึงทำาให้ผู้สมัครที่ได้รับเลือกมีคุณลักษณะ
             เป็นตัวแทนของประชาชนในเขตพื้นที่นั้นจริง ๆ สามารถรับรู้ปัญหาและสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ได้ ทว่าในอีก

             ด้านหนึ่ง การแบ่งเป็นเขตเล็กอาจจะทำาให้เกิดการแข่งขันสูง โดยเฉพาะหากในเขตเลือกตั้งนั้นสามารถเลือก
             ตัวแทนได้คนเดียว เมื่อการแข่งขันสูงการใช้อิทธิพลหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อจูงใจให้ประชาชนลงคะแนนให้ตน

             ก็จะมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน ประกอบกับเมื่อพื้นที่เล็กการควบคุมตรวจสอบของบรรดาหัวคะแนนก็จะทำาได้อย่าง
             เข้มแข็ง การทุ่มเงินเพื่อซื้อเสียงหรือการให้ผลประโยชน์เกิดขึ้นได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม หากว่าประชาชนตัดสินใจ

             ลงคะแนนโดยพิจารณาจากผลงาน พฤติกรรม ของตัวผู้ลงสมัคร (ซึ่งพวกเขาสามารถรับรู้ได้ไม่ยากนัก) ก็อาจจะ
             ทำาให้การซื้อเสียงไม่ประสบผลสำาเร็จ


                      1.2) การแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตใหญ่ การแบ่งในลักษณะนี้จะทำาให้ประชากรในเขตเลือกตั้งมีจำานวน

             มาก มีความหลากหลาย จนทำาให้ยากที่ประชากรจะรู้จักมักคุ้นกันเองหรือใกล้ชิดกับตัวผู้สมัคร (ประชาชน
             ในบางพื้นที่อาจจะไม่รู้จักและไม่สามารถรับรู้พฤติกรรมของตัวผู้สมัครด้วยซำ้า) ผู้สมัครเองก็ไม่มีความใกล้ชิด

             คุ้นเคยกับประชาชนได้ทั้งหมด นอกจากนี้ เขตเลือกตั้งที่ใหญ่ย่อมทำาให้ปัญหาของประชาชนในพื้นที่นั้นมี
             ความแตกต่างหลากหลายอย่างมาก การรับรู้ปัญหาทำาได้ค่อนข้างยาก การสื่อสารระหว่างผู้สมัครและประชาชน

             ก็เป็นไปได้น้อยเพราะจำานวนประชากรมีเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะทำาให้ผู้สมัครไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากร
             กลุ่มใหญ่นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่แบ่งเป็นเขตใหญ่ กลับทำาให้การแข่งขันทางการเมือง

             ไม่สูงมากนัก การใช้เงิน อิทธิพล หรือการให้ผลประโยชน์กับประชาชนเพื่อเป็นการจูงใจอาจทำาได้ยากขึ้นเพราะ
             จำานวนประชากรมีเพิ่มมากขึ้น ระบบการควบคุมตรวจสอบของหัวคะแนนก็ทำาได้ยากด้วยเช่นกัน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27