Page 17 - kpiebook63013
P. 17

17








                                ตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรคหรือตัวบุคคลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ

                                ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่ากัน

                           5)   สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำาให้
                                ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไปจาก

                                การเลือกตั้งครั้งที่แล้วหรือไม่ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็นพรรคการเมือง
                                หรือความนิยมในพรรคการเมืองยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด


                          1.3.4.2 พฤติกรรมการเลือกตั้ง

                          เป็นการศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ในทุกประเด็น เช่น การเลือกตั้งในครั้งนี้มีความเหมือนหรือ

                  แตกต่างจากการเลือกตั้งที่เคยผ่านมาในพื้นที่หรือไม่ มีประเด็นใดบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญในเรื่องใด และ

                  ส่งผลกระทบสำาคัญในเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร รวมถึงการแข่งขันทางการเมือง ทั้งในส่วนที่สามารถ
                  เห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียง กลยุทธ์ วิธีการ การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจนการแข่งขันในส่วนที่ปิดบัง
                  เช่น การซื้อเสียง การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน การแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น


                          1.3.4.3 การใช้เงินในการหาเสียงเลือกตั้ง


                           1)   ศึกษาผลของการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่ โดย

                                วิเคราะห์เปรียบเทียบเจตนารมณ์ของกฎหมายกับผลที่เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ ผ่านการศึกษา
                                บทบาทและวิธีการปฏิบัติงานของผู้จัดการเลือกตั้งว่ามีวิธีการควบคุมตรวจสอบค่าใช้จ่าย

                                ในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง/นักการเมืองในพื้นที่อย่างไร ได้ผลหรือไม่ และพฤติกรรมของ
                                ผู้สมัคร/พรรคการเมืองว่ามีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ มีความพยายาม

                                ที่จะหลบเลี่ยงกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

                           2)   ศึกษาอิทธิพลของการใช้จ่ายเงินของผู้สมัครและพรรคการเมืองมีต่อประชาชน และผลของ

                                การเลือกตั้ง ทั้งการใช้จ่ายเงินที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย โดยให้ความสำาคัญกับ
                                การสำารวจในพื้นที่ว่ายังมีการซื้อสิทธิขายเสียงอยู่หรือไม่ มีรูปแบบหรือกระบวนการอย่างไร

                                ในการซื้อเสียง หรือหากมีการให้เป็นประโยชน์อื่นนอกจากตัวเงิน ผลประโยชน์ดังกล่าวคือ
                                อะไร เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในรูปแบบใด และการซื้อเสียงไม่ว่าจะในรูปแบบใด

                                ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร

                           3)   สังเกต และชี้วัดความรู้สึกถึงทัศนคติ และการให้เหตุผลของบุคคลทั่วไปในการรับรู้เกี่ยวกับ
                                การซื้อเสียง แลกผลประโยชน์ และสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ในพื้นที่ โดยพิจารณาว่าประชาชน

                                ทั่วไปสามารถยอมรับกับพฤติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และประชาชนทั่วไป
                                มีการตอบสนองต่อพฤติกรรมดังกล่าวอย่างไรบ้าง
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22