Page 16 - kpiebook63013
P. 16
16 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.3 ขอบเขตของกำรศึกษำ
1.3.1 ขอบเขตด้านเวลา
ขอบเขตด้านเวลาของการศึกษา ประกอบด้วย การศึกษาตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงระหว่าง
การมีพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้มีการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง จนถึงประมาณ 1 เดือน ภายหลังจากคณะกรรมการ
การเลือกตั้งประกาศรับรองลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.3.2 ขอบเขตประชากร
ประชากรที่ทำาการศึกษา ได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรอิสระ
องค์กรสาธารณะ สื่อมวลชน และองค์กรอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกตั้ง ทั้งในระดับประเทศและในระดับเขต
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจนความตื่นตัวสนใจ การเข้ามีส่วนร่วม และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน
1.3.3 ขอบเขตพื้นที่
พื้นที่เลือกตั้งทุกพื้นที่ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.3.4 ขอบเขตเนื้อหา
1.3.4.1 การตั้งมั่นของความเป็นพรรคการเมือง
1) โดยศึกษาการแข่งขันทางการเมือง โครงสร้างของตระกูลการเมือง หรือเครือข่ายทางการเมือง
ในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีว่ามีการเปลี่ยนแปลงสังกัดพรรคการเมืองจากการเลือกตั้ง
3 ครั้งที่ผ่านมาหรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลง อะไรคือปัจจัยที่ทำาให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
แต่ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง โปรดระบุสาเหตุที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายการเมือง
เดิมยังคงอยู่ในพรรคการเมืองเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง
2) การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายทางการเมือง มีผลต่อ
รูปแบบการแพ้ชนะของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร หากไม่มี อะไรคือปัจจัยที่ทำาให้ผล
การเลือกตั้งออกมาในรูปแบบนั้น
3) การเลือกตั้งระบบใหม่ที่เป็นแบบบัตรใบเดียวที่บีบคั้นให้คนต้องเลือกคนหรือพรรคการเมือง
มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
ใช้ปัจจัยอะไรมากำาหนดให้ตนเลือกพรรค หรือเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งคนไหน อย่างไร
4) การที่แต่ละพรรคต้องดำาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ มีผลทำาให้นโยบายของแต่ละพรรค
ในเขตพื้นที่มีความแตกต่างกันหรือไม่ ในส่วนของนโยบายพรรคที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อ
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของผ฿ลงคะแนนเสียงหรือไม่ หากเปรียบเทียบกับปัจจัยด้าน