Page 18 - kpiebook63013
P. 18
18 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.4 วิธีกำรศึกษำวิจัย
อาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำาคัญในการศึกษา ได้แก่
1.4.1 เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ขั้นตอนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และบทบาทของพรรคการเมือง
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ข้อมูลเชิงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมความเป็นเครือญาติ
หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้งในเขต
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1.4.2 การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง
โดยมีการลงพื้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง บริษัทเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้จัดการ
การเลือกตั้ง กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน
1.4.3 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม
โดยเป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัคร
รับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง
กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วง
การเลือกตั้ง และช่วงหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย (Population)
คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้งหมด วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบบังเอิญ (Accidental Sampling) คือ การใช้กระบวนการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่ต้องการศึกษา
โดยบังเอิญ ไม่ได้มีการเจาะจง และไม่ได้อาศัยหลักความน่าจะเป็นในการคัดเลือก ทำาตามความสะดวกแก่เวลา
และสถานที่อันเนื่องมาจากข้อจำากัดของการวิจัย 2 ประการ คือ หนึ่ง ระยะเวลาการเลือกตั้งเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น
และสอง คือ ความสะดวกใจของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความยินดีที่จะให้ข้อมูลกับผู้วิจัย อันเนื่องมาจาก
เรื่องการเมืองเป็นเรื่องการตัดสินใจส่วนบุคคล ขณะเดียวกันสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในระดับชาติ
ส่งผลต่อการแสดงท่าทีต่อการเลือกตั้งในระดับพื้นที่ด้วย