Page 24 - kpiebook63013
P. 24
24 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3) กำรคิดคะแนนเพื่อหำผู้ชนะ
วิธีการคิดคะแนนเพื่อหาผู้ชนะในการเลือกตั้งแบ่งออกได้อย่างน้อย 3 รูปแบบหลัก ได้แก่
3.1) การคิดคะแนนแบบใครได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งเป็นผู้ชนะ (first-past-the-post) หรืออาจเรียก
อีกอย่างว่าผู้ชนะจะได้ที่นั่งไปเพียงผู้เดียว (winner-take-all) ในการคิดคะแนนแบบนี้ ใครที่ได้คะแนนสูงสุด
เหนือผู้สมัครคนอื่น ๆ ก็จะได้เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง (Heywood, Andrew, 2013, p.208) โดยไม่ต้องพิจารณาว่า
คะแนนที่ได้นั้นเป็นคะแนนเสียงจากคนส่วนใหญ่หรือไม่ (ไม่จำาเป็นต้องได้คะแนนเกิน 50% ของเสียงคนที่มา
ลงคะแนนทั้งหมด) ส่วนใหญ่มักจะใช้ในเขตเลือกตั้งที่ไม่ใหญ่มากและมีที่นั่งเพียงที่เดียว การคิดคะแนนแบบนี้
มักจะปรากฎในระบบการเมืองที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพแล้ว โดยเฉพาะประเทศที่มีระบบพรรคการเมืองแบบ
ระบบสองพรรค เพราะประชาชนที่ไปลงคะแนนเสียงจะเป็นผู้ที่ทำาหน้าที่ตัดสินไปอย่างเด็ดขาดชัดเจนไปเลยว่า
ต้องการพรรคไหน (ด้วยวิธีการคิดคะแนนดังกล่าว พรรคการเมืองที่เป็นพรรคเล็กหรือพรรคเกิดใหม่ย่อมจะยาก
ที่จะเบียดแย่งที่นั่ง เพราะคะแนนที่พรรคเล็กหรือผู้สมัครหน้าใหม่ได้จากประชาชนจะถูกตัดทิ้งทั้งหมดหาก
พวกเขาไม่ได้รับคะแนนสูงสุด) ดังนั้น จึงกลายเป็นการแข่งกันของสองพรรคเด่นไปโดยปริยาย ซึ่งเป็นไปตามกฎ
ของ Duverger’s Law (Duverger, Maurice, 1954) อย่างไรก็ตาม การหาผู้ชนะในรูปแบบนี้อาจจะทำาให้ไม่ได้
ผู้แทนที่เป็นตัวแทนของคนทั้งหมดจริง ๆ หากประชาชนลงคะแนนให้กับผู้สมัครรายอื่นกระจายกันไปจนคะแนน
ของผู้สมัครแต่ละคนไม่ห่างกันมาก ยกเว้นแต่มีผู้ชนะที่ได้คะแนนอย่างถล่มทลาย
3.2) การคิดคะแนนแบบเสียงข้างมาก (Majority electoral systems) บางครั้งเรียกว่า การลงคะแนน
ครั้งที่สอง (second ballot) การคิดคะแนนแบบนี้มีฐานคิดอยู่ที่ว่าคนที่เป็นผู้แทนจะต้องเป็นผู้แทนของ
คนส่วนใหญ่จริง ๆ ถ้าคนที่ได้คะแนนมากที่สุดได้คะแนนไม่ถึง 50% +1 ของคนที่มาลงคะแนน ก็ไม่อาจถือว่า
ตัวแทนของประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้นได้ ดังนั้น หากไม่มีใครได้คะแนนเกิน 50% จะต้องมีการจัดเลือกตั้งใหม่
รอบที่สองหลังจากนั้น (โดยทั่วไปประมาณหนึ่งสัปดาห์) ซึ่งการเลือกตั้งรอบสองนี้อาจจะให้เฉพาะผู้ได้รับคะแนน
มากสุดสองคนแรกของรอบแรกมาลงสมัคร (อย่างเช่นในรัสเซีย) บางประเทศเช่นฝรั่งเศสก็กำาหนดว่าต้องเป็น
ผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าขั้นตำ่าที่กำาหนดไว้ในรอบแรกจึงจะไปแข่งขันใหม่ในรอบที่สองได้ และในรอบที่สองระบบ
การคิดคะแนนจะเปลี่ยนมาใช้แบบ ใครได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งเป็นผู้ชนะ (first-past-the-post) (Heywood,
Andrew, 2013, p.209)
3.3) การคิดคะแนนแบบสัดส่วน (Proportional representation) เป็นคำาเรียกกว้าง ๆ ของระบบ
การคิดคะแนนที่พยายามเทียบสัดส่วนคะแนนให้เหมาะสมว่าคะแนนที่พรรคการเมืองหรือผู้สมัครได้รับจาก
ประชาชนนั้นจะแปลงเป็นที่นั่งในสภาได้เท่าไหร่หรือพรรคนั้นจะได้ผู้แทนกี่คน (Heywood, Andrew, 2013,
p.210) (ระบบบัญชีรายชื่อ (party list) เป็นระบบหนึ่งในการคิดคะแนนแบบนี้) เช่น ถ้าพรรคการเมืองหนึ่ง
ได้รับเสียงจากประชาชน 60 % พรรคนั้นก็ควรได้ที่นั่งในสภา 60 % ของจำานวนที่นั่งทั้งหมด แต่ระบบนี้อาจจะ
ทำาให้เกิดประเด็นถกเถียงได้อย่างมาก เช่น พรรคที่ได้คะแนนจากประชาชน 0.001 % ควรจะได้ที่นั่งในสภาหรือไม่
หรือ ถ้าพรรคการเมืองหนึ่งได้รับคะแนนค่อนข้างน้อย เราควรจะนำาคะแนนนั้นมาคิดหรือไม่ (พรรคนี้สมควรได้ที่นั่ง
สมาชิกสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศหรือไม่) และหากคะแนนที่ได้ของพรรคนี้ไม่ถูกนำามาคิด