Page 25 - kpiebook63013
P. 25

25








                  (ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนขั้นตำ่าที่กำาหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งมักจะใช้เกณฑ์ 5% ของคะแนนเสียงทั้งหมด)

                  จะหมายความว่าตัดเสียงประชาชนจำานวนหนึ่งออกไปหรือไม่ และการทำาในลักษณะนี้เป็นการกีดกันการเกิดขึ้น
                  ของพรรคขนาดเล็กและพรรคใหม่ ๆ หรือไม่ หรือ ถ้าได้คะแนนจากประชาชนคิดเป็น 22.5 % จะแปลงเป็น

                  กี่ที่นั่ง ฯลฯ แต่หากไม่มีการกำาหนดคะแนนขั้นตำ่า การนับคะแนนแบบนี้จะนำาไปสู่การเกิดขึ้นของพรรคเล็ก ๆ
                  จำานวนมาก แต่ก็จะทำาให้มีจำานวนผู้แทนกระจัดกระจายไปพรรคละไม่กี่คน แต่หากไปกำาหนดคะแนนขั้นตำ่า

                  ก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการเติบโตของพรรคเล็กและทำาให้คะแนนเสียงที่ตัดทิ้งไร้ความหมายไปโดยปริยาย
                  การหาผู้ชนะรูปแบบนี้จึงค่อนข้างจะมีปัญหาซับซ้อน


                          ตัวอย่างของการคิดคะแนนแบบสัดส่วนที่นิยมใช้ เช่น ระบบบัญชีรายชื่อ (party list system)

                  ซึ่งแยกเป็นสองระบบย่อย คือ ระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (open party list system) กล่าวคือ พรรคการเมือง
                  จะจัดทำาบัญชีรายชื่อผู้สมัคร โดยเรียงลำาดับรายชื่อไปตามความเหมาะสม แล้วให้ประชาชนเลือกว่าต้องการ

                  บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด หลังจากนั้นก็ไปดูว่าพรรคการเมืองได้คะแนนเท่าไหร่ เมื่อนำามาเทียบ
                  สัดส่วนแล้ว ควรจะได้ที่นั่งในสภากี่ที่นั่ง แล้วไปไล่เรียงนับไปตามลำาดับบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ส่วนอีกระบบ

                  คือ ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด (closed party list system) ประชาชนเพียงแต่เลือกพรรค เมื่อเทียบสัดส่วนแล้ว
                  ได้คำาตอบว่าพรรคการเมืองหนึ่ง ๆ ควรจะได้จำานวนผู้แทนกี่คน ก็ให้พรรคการเมืองนั้น ๆ เป็นคนเลือกสมาชิก

                  ในพรรคเองว่าจะให้ใครได้ไปนั่งในสภา โดยการหาโควตาที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองควรจะได้นั้นมักจะใช้จาก
                  การคำานวณโดยสูตรของ Victor d’Hondt หรือ Saint-Lague method


                          ในขณะที่ระบบ Single transferable vote (STV) เป็นการคิดคะแนนแบบสัดส่วนซึ่งใช้ในกรณี

                  ที่มีการเลือกลงคะแนนเป็นตัวบุคคล วิธีการนี้พัฒนาขึ้นโดย Thomas Hare นักการเมืองชาวอังกฤษ โดยใน
                  การเลือกนั้น ผู้เลือกจะเรียงลำาดับตัวผู้สมัครที่ตนเองชอบไว้ตามลำาดับ คือมีลำาดับที่ 1 ลำาดับที่ 2 ลำาดับที่ 3 ฯลฯ
                  (บางประเทศอย่างเช่นออสเตรเลียกำาหนดให้เรียงลำาดับผู้สมัครตามความชอบให้ครบทุกคน แต่บางประเทศ

                  ก็ไม่ได้กำาหนดให้เรียงลำาดับผู้สมัครครบทุกคน) ซึ่งการเรียงลำาดับเป็นการแสดงถึงระดับของความนิยมใน

                  ตัวผู้สมัครได้ชัดเจนมากกว่าเลือกคนเดียวซึ่งอาจจะมองไม่เห็นอะไรมากนัก ส่วนการจะคำานวนว่าใครจะ
                  ได้เป็นผู้แทนหรือไม่จะใช้สูตรที่เรียกว่า Droop quota เพื่อดูว่าคะแนนขั้นตำ่าอยู่ที่เท่าไหร่ และใครที่ได้
                  คะแนนเกินคะแนนขั้นตำ่า (พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, 2558, น.16) วิธีการคือนำาบัตรลงคะแนนทั้งหมดมาดูว่า

                  ใครถูกเลือกมากสุดเป็นอันดับหนึ่ง สมมติว่าประชาชนเลือกนาย A ไว้ลำาดับที่หนึ่งมากที่สุด นาย A ก็จะได้เป็น

                  ผู้แทน ส่วนนาย B ที่คนเลือกเป็นอันดับหนึ่งน้อยสุดจะถูกตัดชื่อออก แล้วให้เอาบัตรลงคะแนนที่เลือกนาย B
                  ใส่กลับเข้าไปในกองใหม่ แต่ครั้งนี้ให้ไปดูว่าบัตรเลือกตั้งของประชาชนที่เลือกนาย B เป็นอันดับแรกนั้น
                  เลือกใครมาเป็นอันดับสอง ส่วนบัตรเลือกตั้งที่เลือกนาย A ก็ให้ไปดูว่าประชาชนเลือกใครเป็นอันดับสอง

                  (เพราะชื่อลำาดับหนึ่งคือ นาย A ได้เป็นผู้แทนแล้ว ตัดออกไปจากระบบการคัดเลือกแล้ว) ก็จะได้คะแนนเสียงไป

                  หากใครคะแนนได้เกินเกณฑ์ขั้นตำ่าก็ได้เป็นผู้แทน (ด้วยเหตุนี้ ระบบดังกล่าวจึงได้ชื่อว่า transferable vote
                  คือคนที่เราเลือกเป็นที่หนึ่งอาจจะไม่ได้เป็นผู้แทนแต่คนที่เราเลือกเป็นอันดับต่อ ๆ มานั้นอาจจะเป็นผู้ชนะก็ได้
                  เพราะคะแนนจากผู้เลือกตั้งทั้งหมดสามารถส่งต่อกันได้)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30