Page 46 - kpiebook63011
P. 46

46    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่







             2.4 กำรทบทวนวรรณกรรมและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง



                        การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาวิจัยนี้ ได้แบ่งกลุ่มงานวรรณกรรมและ

             งานวิจัยออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1) งานวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ระบบเลือกตั้ง และ

             พรรคการเมืองที่อธิบายถึงความสำาคัญ ความเชื่อมโยงของสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
             ทางการเมืองและสะท้อนภาพของการเมืองไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่สามารถนำามาอธิบายการเลือกตั้งในวันที่
             24 มีนาคม 2562 2) งานศึกษาวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง และพฤติกรรมการเลือกตั้ง

             ของประชาชนหรือบริบททางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่


                      1) งานวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ระบบเลือกตั้ง และพรรคการเมือง


                      สมชัย แสนภูมิ (2557) ทำาการศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดองค์กรพรรคภายใต้การน�าของทักษิณ ชินวัตร:
             ศึกษากรณีพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย งานของสมชัยเสนอภาพของโครงสร้าง

             การบริหารและการจัดการภายในของพรรคการเมืองที่ส่งทอดต่อเนื่องกันคือ ไทยรักไทย พลังประชาชน และ
             เพื่อไทย แกนกลางสำาคัญของพรรคทั้ง 3 นี้คือ การเป็นพรรคที่มีโครงสร้างแนวดิ่ง โดยบุคคลที่มีบทบาทใน

             การกำาหนดทิศทางของพรรคทั้ง 3 ตั้งแต่การเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ของพรรคคือ
             พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มชนชั้นนำาในพรรคเป็นหลัก การกำาหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของพรรค

             มีการหาข้อมูลและรวบรวมความต้องการของประชาชนผ่านการวิจัย จนนำามาสู่การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ
             นโยบาย การหาเสียง การสร้างภาพลักษณ์ต่าง ๆ ของพรรคการเมืองทั้ง 3 ที่ทำาให้แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น ๆ

             ประเด็นสำาคัญที่ปรากฏในการศึกษาวิจัยของแสนชัยคือ ความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคอาจไม่ใช่เงื่อนไข
             ของการทำาให้พรรคการเมืองชนะ เพราะพรรคทั้ง 3 ได้รับชัยชนะมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำาคัญคือ การบริหาร

             จัดการพรรคแบบเบ็ดเสร็จโดยชนชั้นนำาของพรรค แต่การจัดโครงสร้างการบริหารแบบบนลงล่างก็ทำาให้ลด
             ความขัดแย้งและง่ายต่อการจัดสรรผลประโยชน์โดยผู้นำาพรรค จะเห็นว่าลักษณะการดำาเนินการของพรรค

             นับตั้งแต่พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ประสบความสำาเร็จในการเลือกตั้งมา
             อย่างต่อเนื่องแม้จะเปลี่ยนชื่อพรรคหรือผู้นำาพรรคการเมืองก็ตาม การยึดครองพื้นที่ฐานคะแนนเสียงในพื้นที่

             ภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน มีผลอย่างยิ่งต่อการจงรักภักดีต่อพรรคการเมืองอันเกิดจากการยึดโยง
             กับนโยบายพรรค และผู้นำาพรรค คือ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร หรืออาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่พรรคไทยรักไทย

             จนมาถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน พรรคทั้ง 3 นี้ได้เปลี่ยนแปลงความคิดเรื่องการยึดติดกับตัวบุคคลในพื้นที่มาสู่
             การยึดติดกับพรรคการเมืองและนโยบายพรรคการเมืองอย่างเห็นได้ชัดเจน


                      สติธร ธนานิธิโชติ (2558) เสนอบทความเรื่อง ความได้เปรียบในสนามเลือกตั้งของทายาท

             ตระกูลนักการเมือง สติธรได้ศึกษาตระกูลการเมืองในกลุ่มประเทศประชาธิปไตย และประเทศที่มีความเสี่ยงใน
             การไม่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์พบว่า ตระกูลการเมืองไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่ปรากฏให้เห็นในประวัติศาสตร์

             การเมืองของหลายประเทศ ในขณะที่พบว่าตระกูลการเมืองในอดีตเป็นสิ่งสำาคัญต่อการเลือกตั้งในประเทศไทย
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51