Page 48 - kpiebook63011
P. 48

48    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








                      สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2561) ได้นำาเสนอสาระสำาคัญของการเลือกตั้งในหนังสือ ระบบเลือกตั้ง

             เปรียบเทียบ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำาคัญในการทำาความเข้าใจระบบเลือกตั้งว่ามีความสำาคัญอย่างมากต่อ
             การกำาหนดทิศทางและความเป็นไปของระบบการเมือง โดยเฉพาะการศึกษาเรื่องระบบการเลือกตั้งสามารถทำาให้

             เกิดความเข้าใจสถานการณ์การเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง และปรากฏการณ์ของการเมืองทั้งก่อนและหลัง
             การเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้งยึดโยงตัวแสดงหลัก ๆ ไว้คือ พรรคการเมืองและประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

             การยึดหลักการพื้นฐานของการเลือกตั้งจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงไปสู่กระบวนการสร้างประชาธิปไตย การให้
             ความสำาคัญกับการออกแบบระบบการเลือกตั้งได้รับความสำาคัญมาอย่างยาวนาน แต่สำาหรับประเทศไทย

             อาจกล่าวได้ว่า เริ่มเห็นนับตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มีการใช้ระบบการเลือกตั้งสัดส่วนผสม
             ที่มีส่วนผสมของระบบบัญชีรายชื่อกับระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ที่นำามาสู่การเติบโตของพรรคการเมือง

             ขนาดใหญ่ และเป็นการกลั่นกรองพรรคการเมืองให้น้อยลงเพื่อแก้ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลผสม
             ดังที่เป็นปัญหาในอดีตของการเมืองไทย ความสำาคัญของระบบการเลือกตั้งถูกนำามาศึกษาเปรียบเทียบใน

             หลายประเทศ โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้งได้ถูกให้ความหมายว่าเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมือง แม้แต่
             ในการปฏิรูปการเมืองปี พ.ศ. 2540 การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งถือเป็นการปฏิรูปการเมืองที่ทำาให้เกิด

             การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการเมือง เช่น การปฏิรูปการเมืองที่นำาไปสู่การเปลี่ยนไปสู่ระบบเลือกตั้งแบบ
             สัดส่วนทำาให้ผู้สมัครหญิงมีโอกาสเข้ามาทำาหน้าที่ ส.ส. ในสภาเพิ่มมากขึ้น (ปุรวิชญ์ วัฒนสุข, 2557, น.143)


                      สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2561) สะท้อนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นประชาธิปไตยด้วยการปฏิรูป

             การเมือง ในหนังสือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเปรียบเทียบ โดยศึกษา 8 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้
             อินโดนีเซีย ชิลี อาร์เจนตินา ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์ พบว่าบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

             และประวัติศาสตร์การเมืองของแต่ละประเทศเป็นข้อกำาหนดสำาคัญต่อกระบวนการสร้างประชาธิปไตยภายใน
             ประเทศ การปฏิรูปการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ถ้าเกิดจากความต้องการของประชาชนแล้วนั้น ก็จะนำา

             มาสู่รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองที่ได้รับการยอมรับ แต่องคาพยพทางการเมืองหากเกิดจากเพียง
             อำานาจของชนชั้นนำาหรือผู้มีอำานาจการปฏิรูปการเมือง กระบวนการของประชาธิปไตยก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้

             เมื่อระบบการเลือกตั้งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนแล้ว พรรคการเมือง
             ซึ่งถือเป็นทั้งสถาบันทางการเมืองและองค์กรทางการเมืองจำาต้องปรับทั้งโครงสร้างบทบาทและกลยุทธ์การแข่งขัน

             ภายใต้กติกาตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหนังสือ ความหวังและความน่าจะเป็น ฉากทัศน์พรรคการเมืองไทย ภายใต้
             รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 โดย ณัชชาภัทร อมรกุล อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และฐิติกร สังข์แก้ว (2562) ชี้ให้เห็น

             ถึงความสำาคัญของพรรคการเมืองที่ถูกคาดหวังจากประชาชนในการสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะที่กติกา
             ตามรัฐธรรมนูญกลับกำาหนดควบคุมการดำาเนินงานของพรรคการเมืองให้เป็นไปด้วยความยากลำาบากกว่า

             รัฐธรรมนูญอื่น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งการศึกษานี้ชี้ให้เห็นฉากทัศน์หรือภาพที่อาจปรากฏในอนาคตของพรรคการเมือง
             ไทยภายใต้กฎหมายและกติกาใหม่ในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง

             พ.ศ. 2560 รวมทั้งการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดภายหลังการเลือกตั้ง พรรคการเมืองไทยจะมีการเปลี่ยนแปลง
             ทั้งโครงสร้างและคุณลักษณะ ที่ทำาให้พรรคการเมืองต้องขบคิดว่าการยึดโยงกับประชาชนจะกลายเป็นสิ่งที่เป็น

             ฐานอำานาจที่สำาคัญที่สุดของพรรคภายใต้แรงกดดันจากรัฐหรือผู้มีอำานาจ
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53