Page 53 - kpiebook63011
P. 53

53












                          การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก
                  สภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมุ่งที่จะ

                  ศึกษาและอธิบายบทบาทของตัวแสดงทางการเมืองในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ได้แก่ พรรคการเมือง
                  ผู้สมัครรับเลือกตั้ง องค์กรรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กรกลาง

                  ที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง และประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัด
                  เชียงใหม่




                  3.1  แนวทำงกำรวิจัย



                          เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์ที่ครบถ้วน สมบูรณ์ และครอบคลุมประเด็นที่ศึกษา
                  ผู้ศึกษาจึงได้กำาหนดแนวทางการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัย

                  ที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) ผู้ศึกษาจะทำาการค้นคว้าและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ระบบ
                  การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตลอดจนเอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์

                  หนังสือ วารสาร บทความวิชาการ ข่าว รวมถึงรายงาน ระเบียบ กฎหมายของภาครัฐที่มีผลต่อการดำาเนินการ
                  ในการจัดการเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่


                          ส่วนที่สองเป็นการวิจัยภาคสนาม (Field Research)ใช้วิธีการวิจัยแบบสังเกตการณ์ทั้งมีส่วนร่วม

                  และไม่มีส่วนร่วม ผู้ศึกษาลงพื้นที่สำารวจและเก็บข้อมูลโดยแบ่งตามเขตเลือกตั้งที่มีทั้งหมด 9 เขตเลือกตั้ง
                  ในจังหวัดเชียงใหม่ และมีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-group

                  Interview) กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้นำาชุมชน นักการเมืองท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปในฐานะของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง



                  3.2 วิธีกำรเก็บข้อมูล



                          3.2.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research)


                          โดยผู้วิจัยได้ดำาเนินการในการรวบรวมข้อมูล เอกสาร และการสืบค้นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ

                  ประเด็นในการศึกษาวิจัย เอกสารถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ เอกสารชั้นต้น เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
                  ไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของ

                  คณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ
                  บทบาทของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และ

                  เอกสารชั้นรอง ได้แก่ หนังสือพิมพ์ บทความ หนังสือ และข้อมูลของพรรคการเมืองที่เป็นเอกสารเผยแพร่
                  ข้อมูลเชิงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งในจังหวัด
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58