Page 54 - kpiebook63011
P. 54

54    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








             ที่กำาหนดทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อม

             ความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่
             ตลอดจนงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของนักวิชาการ


                      3.2.2 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม (Participatory Observation)


                      โดยเป็นการสังเกต บันทึก และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป บริบททางการเมือง การแสดงออกและ

             บทบาทของทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้สนับสนุนการเลือกตั้ง และประชาชน โดยมีการเข้าร่วมตั้งแต่วันรับสมัคร
             รับเลือกตั้ง การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองและผู้สมัครพรรคต่าง ๆ จนถึงวันเลือกตั้งและ
             การสัมภาษณ์และศึกษาบริบทหลังการเลือกตั้ง โดยการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัคร

             รับเลือกตั้ง บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้อง

             กับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน

                      3.2.3 การสัมภาษณ์ (Interview Method)


                      โดยมีการใช้เทคนิคทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม

             (Focus-group Interview) โดยมีทั้งคำาถามกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง คือการกำาหนดชุดคำาถามที่นำามาสู่
             ข้อมูลในการนำาไปวิเคราะห์เพื่อแยกแยะความแตกต่างและความเหมือนในประเด็นเดียวกัน การสัมภาษณ์

             ที่เน้นประเด็นคำาสำาคัญเพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระและเน้นการเก็บประเด็น
             จากคำาตอบของผู้ให้สัมภาษณ์ โดยเฉพาะประเด็นคำาถามทางการเมืองที่อาจมีผลต่อความรู้สึกและกระทบบริบท

             ในการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยจะต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ในการปรับเปลี่ยนคำาถาม และการให้ประเด็นของ
             การแสดงความคิดเห็นมากกว่าการตัดสินเพื่อการวิพากษ์วิจารณ์






             3.3 ผู้ให้ข้อมูล (Key Informants)




                      การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาภายใต้บริบทของการเลือกตั้ง โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก
             โดยวิธีเจาะจงตามวัตถุประสงค์ (Purposive Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยอาศัย
             ความรอบรู้ ความชำานาญและประสบการณ์ เป็นผู้ให้ข้อมูลคนสำาคัญ (Key Informants) โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

             แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มหลัก คือ


                      1.  ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากหลากหลายพรรคการเมือง แต่เป็นผู้สมัครครอบคลุมทั้ง 9 เขตการเลือกตั้ง
                          ในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง ตัวแทนของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมือง


                      2.  หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ข้าราชการท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
                          การจัดการการเลือกตั้ง
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59