Page 50 - kpiebook63011
P. 50

50    การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่








                      ดังที่ พิศาล พันธุเสนีย์ (2553) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร

             นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ในการเลือกตั้งวันที่ 4 ตุลาคม 2552 พบว่าในด้านหนึ่งการหาเสียงเพื่อลงแข่งขัน
             ชิงตำาแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่นั้น มีการพยายามเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง

             ระดับชาติ ทั้งในลักษณะของแนวนโยบายและสัญลักษณ์สี โลโก้ สโลแกน ตลอดจนภาพถ่าย แต่ในอีกด้านหนึ่ง
             คือการที่ผู้สมัครทั้ง 10 คน ได้มีการนำาเสนอพื้นฐานครอบครัว และประวัติตนเองที่เป็นตระกูลเก่าแก่

             มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเครือข่ายทางการเมืองในอดีตหรือมีความเป็นเครือญาติ ตลอดจนการเป็นที่รู้จัก
             ในพื้นที่จากการทำาธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน


                      สุรชัย ตั้งมกรา (2556) ศึกษาเรื่อง การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง: ศึกษาการหาเสียงเลือกตั้งวันที่

             3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เขตเลือกตั้งที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาของสุรชัยพบว่า ภายใต้บริบทของ
             ความขัดแย้งมีผลต่อการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่มาก โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่ในการศึกษา

             เพราะมีการรวมกลุ่มของคนเสื้อแดงที่เข้มแข็ง ซึ่งเกิดมาจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จนพัฒนามาสู่การรวมกลุ่ม
             ทางการเมืองที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยให้ชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2554 การมีกลุ่มการเมืองของคนในพื้นที่

             คอยสนับสนุนกลายเป็นกลไกสำาคัญที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์กับทั้งประชาชนและผู้นำาท้องถิ่น ผ่านสายสัมพันธ์
             เชิงอุปถัมภ์ ผนวกรวมกับความนิยมในตัวอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร และนโยบายต่าง ๆ ที่พรรคไทยรักไทย

             เคยทำาไว้ เป็นสิ่งสำาคัญที่ทำาให้ฐานการเมืองของพรรคเพื่อไทยเข้มแข็ง และการดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองของ
             พรรคก็สามารถดำาเนินการได้อย่างต่อเนื่องจนนำามาสู่การชนะการเลือกตั้งและความนิยมที่พรรคการเมืองอื่น ๆ

             ไม่สามารถเจาะฐานคะแนนเสียงได้


                      ในงานศึกษาของ สมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ (2553) เรื่องการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง
             ในการออกเสียงประชามติและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร 2550: จังหวัดขอนแก่น
             ได้อธิบายถึงบทบาทในการเลือกตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ภายหลัง

             การประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ว่า การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนในพื้นที่นั้น ไม่ได้ยึดติดอยู่กับ

             ตัวผู้สมัครอีกต่อไป แต่หากได้ให้ความสำาคัญเน้นหนักไปที่ พรรคการเมืองกับผู้บริหารพรรค และที่สำาคัญคือ
             ลักษณะของการเป็นตัวแทนของอำานาจขั้วใดขั้วหนึ่งอย่างชัดเจน ส่วนแรงจูงใจในการชักนำาให้ประชาชนออกไป
             ใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ได้อธิบายว่าเกิดจากความต้องการที่จะได้มาซึ่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นอกจากนี้แล้ว

             ภายหลังผลการเลือกตั้งประกาศออกมาพบว่า พรรคพลังประชาชนประสบความสำาเร็จอย่างล้นหลามภายใต้

             กระแสหวนคืน “ทักษิณ” ซึ่งยังคงระอุภายใต้สภาวการณ์ทางการเมืองในช่วงหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน
             2549 อาจกล่าวได้ว่าในการเลือกตั้งในปี 2550 นั้น พรรคการเมืองที่แสดงตัวว่าเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายการเมืองใด
             การเมืองหนึ่ง มักจะได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนที่สมาทานอุดมการณ์ในฝ่ายฝั่งนั้นอย่างชัดเจน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55