Page 49 - kpiebook63011
P. 49
49
2) งานศึกษาวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง การเลือกตั้ง และพฤติกรรมการเลือกตั้ง
ของประชาชนหรือบริบททางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่
ปิยดา มหาบุญญานนท์ (2547) ได้ทำาการศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาการจัดการสาขาพรรคไทยรักไทย
ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าพรรคไทยรักไทยแม้ไม่ได้มีสาขาพรรคการเมืองมากเท่ากับพรรคเก่าแก่อย่าง
พรรคประชาธิปัตย์ แต่มีการบริหารจัดการสาขาพรรคในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นสาขาศูนย์กลางของกลุ่มจังหวัด
9 จังหวัดในภาคเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการระดมทรัพยากรเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับ
การทำาหน้าที่สาขาเพื่อเชื่อมโยงกับผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยและสมาชิกพรรคในจังหวัดอื่น ๆ ด้วย โดย
จังหวัดอื่น ๆ ตั้งขึ้นมาในลักษณะศูนย์ประสานงาน โดยเฉพาะจังหวัดที่มีเครือข่ายนักการเมืองระดับท้องถิ่น
เนื่องจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทยได้สร้างเครือข่ายการเมืองในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบ
และเข้มแข็งขึ้นมาก ดังนั้น การเตรียมสาขาพรรคในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการทำางานของศูนย์ประสานงาน
จึงมีความสำาคัญ สำานักงานใหญ่พรรคและผู้บริหารพรรคจะเป็นผู้ที่วางแนวทางการบริหารจัดการสาขาและ
แบ่งบทบาทหน้าที่ในพื้นที่ โดยเฉพาะการที่นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ น้องสาวของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร
หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ภาคเหนือของพรรคไทยรักไทย ยิ่งทำาให้สาขาพรรคไทยรักไทย
มีความสำาคัญอย่างยิ่งไม่ใช่เพียงบทบาทของสำานักงานในการประสานงานในพื้นที่ภาคเหนือ แต่ยังรวมถึงการเป็น
เหมือนสัญลักษณ์และภาพลักษณ์ของพรรคในช่วงเวลาของการเมืองที่มีความนิยมพรรคการเมืองสูง
เพียงกมล มานะรัตน์ (2547) ศึกษาวิจัยเรื่อง การเมืองเรื่องการเลือกตั้ง: ศึกษากรณีการรณรงค์
หาเสียงเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2547 พบว่านโยบายกลายเป็นปัจจัยสำาคัญ
ต่อการหาเสียงเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะการใช้นโยบายหาเสียงการเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่
ที่เน้นนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองมากกว่าการหาเสียงที่ว่ากล่าวให้ร้ายป้ายสีกันดังเช่นในอดีต ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งตำาแหน่งนายกเทศมนตรีมีทั้งบุคคลที่มีชื่อเสียงและบุคคลที่ไม่ได้มีเครือข่ายทางการเมืองมาก่อน
แต่ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ยังคงเป็นกลไกสำาคัญในการเชื่อมเครือข่ายทางการเมืองของท้องถิ่น การเลือกตั้ง
ในระดับท้องถิ่นทำาให้เกิดความสัมพันธ์ทางตรงระหว่างนักการเมืองท้องถิ่นกับประชาชนโดยตรงได้ง่ายมากกว่า
การเมืองระดับชาติ ดังนั้น บทบาทของหัวคะแนนในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นไม่ได้มีความจำาเป็นหรือมีบทบาท
มากนักในการเมืองระดับท้องถิ่น งานของเพียงกมล ทำาให้เห็นถึงความเชื่อมโยงบริบทการเมืองระดับชาติและ
ระดับท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน เพราะปัจจัยการหาเสียงเรื่อง นโยบายกลายเป็นเงื่อนไขการลงคะแนนเลือกตั้ง
ของประชาชน นโยบายพรรคการเมืองหรือนโยบายกลุ่มการเมืองจึงมีความสำาคัญต่อการชนะการเลือกตั้ง
แม้จังหวัดเชียงใหม่จะถือเป็นพื้นที่สำาคัญของพรรคไทยรักไทย ตลอดจนมาสู่พรรคพลังประชาชน และ
พรรคเพื่อไทย ในบางบริบททางการเมืองทำาให้เชียงใหม่ถูกเรียกว่าพื้นที่เสื้อแดง หรือกลุ่มสนับสนุนพรรค
ไทยรักไทยและ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตรก็ตาม แต่ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การเชื่อมโยงประเด็นเรื่อง
พรรคไทยรักไทยหรือกลุ่มคนเสื้อแดงกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำาคัญอีกประการคือ
เรื่องของตระกูลการเมือง