Page 44 - kpiebook63011
P. 44
44 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดเชียงใหม่
ในการศึกษาวิจัยของจิราภรณ์ ดำาจันทร์ (2561) พบว่ามีแนวคิดของทั้งนักวิชาการไทยและต่างประเทศ
ที่เสนอปัจจัยหรือเงื่อนไขของกระบวนการในการสร้างประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น เพราะระบอบประชาธิปไตยกลายเป็น
ระบอบที่ได้รับการยอมรับว่าชอบธรรมที่สุด ทำาให้กระบวนการสร้างความชอบธรรมด้วยการสร้างรูปแบบ
ประชาธิปไตยมารองรับอำานาจจึงเป็นสิ่งสำาคัญ นอกจากนี้ จิราภรณ์ ยังเสนอตัวแสดงทางการเมืองที่มีปัญหา
ไม่สามารถแสดงบทบาทในการทำาให้ประชาธิปไตยมั่นคงได้ เช่น พรรคการเมือง (จิราภรณ์ ดำาจันทร์, 2561,
น.199) ซึ่งพรรคการเมืองไทยมีสภาพที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศที่เป็นประชาธิปไตย พรรคการเมือง
มีความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอก ทำาให้การแสดงบทบาทของสมาชิกพรรคไม่สามารถมุ่งเน้นเรื่องการ
ทำาหน้าที่ตามบทบาทในสภา และการทำาให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคง
ดังนั้น การศึกษาเรื่องความมั่นคงของประชาธิปไตยและความตั้งมั่นทางการเมืองหรือพรรคการเมือง
จึงเป็นประเด็นสำาคัญในการศึกษา โดยเฉพาะในสังคมที่เพิ่งเปลี่ยนผ่านจากลักษณะอำานาจปกครองหนึ่งไปสู่
อีกรูปแบบ และที่สำาคัญหากการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากสังคมแบบเผด็จการไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย
ความต้องการและกระบวนการในการสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตยจะดำาเนินไปด้วยความยากลำาบากและ
อาจนำามาสู่ปัญหาทางการเมืองและความขัดแย้งของสถาบันทางการเมืองภายในด้วย หากแต่กระบวนการใน
การสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตยและความตั้งมั่นในประชาธิปไตยได้ถูกขับเคลื่อนไปด้วยฐานกำาลังของ
ประชาชนจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาประชาธิปไตยเข้มแข็งได้อย่างรวดเร็วขึ้น
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมกำรลงคะแนนเสียง
เลือกตั้ง (Electoral Behaviour)
การทำาความเข้าใจและศึกษาความสัมพันธ์ของรัฐ ระบอบประชาธิปไตยและประชาชนสามารถศึกษา
ได้ด้วยการอาศัยการอธิบายผ่านแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เนื่องจากในระบอบ
ประชาธิปไตย การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนสามารถสะท้อนความต้องการ การกำาหนดทิศทาง
ในการพัฒนาประเทศและการเลือกตัวแทนทางการเมืองที่สะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองของประชาชนได้
โดยพื้นฐานของการศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งนั้นเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุผลในการเลือกแต่จะมีองค์ประกอบ
หรือเงื่อนไขอะไรที่มาสนับสนุนเหตุผลก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลากหลายประการ
การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระบบการเมืองต่าง ๆ นั้น แง่มุมหนึ่งนับได้ว่า
เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตย เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกระบวนการปกครองได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหัวใจ
ของกิจกรรมทางการเมืองทุกระบบ ซึ่งในการศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในสังคมสมัยใหม่นั้น
ยิ่งมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้นกว่าการนำาเสนอเพียงแนวคิดการเลือกอย่างมีเหตุผลเพียงอย่างเดียว