Page 41 - kpiebook63011
P. 41
41
8) ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ
9) ห้ามเล่นการพนันขันต่อใด ๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
10) ห้ามเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำารวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (โพล)
ในระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้งจนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 นี้ มีการตั้งให้การไม่ซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวาระแห่งชาติ
ดังนั้นแล้วจึงให้อำานาจคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการลงโทษผู้สมัครที่ประพฤติผิดตามกฎข้อระเบียบที่ได้
กล่าวในข้างต้น ซึ่งในรัฐธรรมนูญ 2560 รวมทั้งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคณะกรรมการเลือกตั้ง
และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ได้กำาหนดให้ผู้มีอำานาจ
ในการพิจารณาตรวจสอบความโปร่งใสในการเลือกตั้ง และอำานาจในการตัดสินโทษคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) และศาล ซึ่งได้แบ่งระดับความผิดจาก “ใบ” สีต่าง ๆ 4 สี 4 ระดับด้วยกัน คือ (ประชาไท, 2562)
1) ใบเหลือง คืออำานาจในการสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยพบชัดเจนว่ามีผู้กระทำาผิด ที่ทำาให้
การเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างสุจริตหรือเที่ยงธรรม โดยสามารถให้ในช่วงระยะก่อน ระหว่าง หรือหลังการประกาศ
ผลเลือกตั้งก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ กกต. มีอำานาจในการสั่งระงับ ยับยั้ง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการเลือกตั้ง
และสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในช่วงระหว่างมีการจัดการเลือกตั้ง ในกรณีที่ให้ใบเหลืองหลังจากผลเลือกตั้ง
ประกาศแล้ว กกต. จะมีอำานาจในการส่งยื่นคำาร้องต่อศาลฎีกา เพื่อพิจารณาออกคำาวินิจฉัยความผิด
2) ใบส้ม เป็นอำานาจของ กกต. ที่จะสามารถนำาผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามออก
จากการเลือกตั้งชั่วคราว โดยในการให้ใบส้มก่อนการเลือกตั้งนั้น จะส่งผลให้ผู้สมัครทั้งในแบบแบ่งเขตหรือ
บัญชีรายชื่อผู้นั้น ไม่มีสิทธิ์เข้ารับการเลือกตั้ง หรือในช่วงก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง กกต. สืบสวนสอบสวน
แล้วว่ามีเหตุให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้สมัครคนใด
กระทำา สนับสนุน หรือเป็นใจแก่การกระทำาที่มิชอบ กกต. มีอำานาจสูงสุดในการระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่มีคำาสั่ง
3) ใบแดง คือการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถเลือกตั้งใน
ระยะเวลาที่กำาหนด โดยให้อำานาจการเพิกถอนนี้เป็นอำานาจของศาลฎีกา หากการสืบสวนสอบสวนภายหลัง
จากการประกาศผลการเลือกตั้ง แล้วมีหลักฐานว่ามีการกระทำาอันเป็นการทุจริตการเลือกตั้ง กกต. จะต้องส่ง
คำาร้องยื่นให้ศาลฎีกาตัดสิน เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเป็นเวลา 10 ปี
นับตั้งแต่มีคำาสั่ง
4) ใบด�า คือ เมื่อผู้นั้นถูกศาลฎีกาสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อเนื่องมาจากใบแดง นับภายหลัง
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี ทำาให้ผู้นั้นจะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและไม่มีสิทธิดำารงตำาแหน่งทาง
การเมืองใดตลอดชีวิต