Page 43 - kpiebook63011
P. 43

43







                  2.2 แนวคิดกำรตั้งมั่นของควำมเป็นประชำธิปไตย


                  (Consolidated Democracy)



                          การทำาความเข้าใจเรื่องการตั้งมั่นของความเป็นพรรคการเมือง ต้องย้อนกลับไปทำาความเข้าใจแนวคิด
                  ของการตั้งมั่นของประชาธิปไตย ซึ่งมองว่าทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง

                  ประชาธิปไตย และประชาธิปไตยเป็นวิถีชีวิตของประชาชน (จิราภรณ์ ดำาจันทร์, 2560, น.25) ความตั้งมั่นของ

                  ประชาธิปไตยนับเป็นเป้าหมายสำาคัญของการเมืองสมัยใหม่ แต่หนทางที่จะนำามาสู่เป้าหมายนี้คือ การดำาเนินการ
                  จัดการเลือกตั้งที่มีประชาชนและพรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบสำาคัญ เพราะกระบวนการในการเลือกตั้ง
                  ถือเป็นกระบวนการในการรองรับหลักการเสียงข้างมากและความต้องการของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย

                  ที่แท้จริง ความตั้งมั่นทางการเมืองเกิดควบคู่ไปกับกระบวนการสร้างความเป็นประชาธิปไตยที่ต้องผนวก

                  องค์ประกอบ 5 ประการที่เสริมสร้างสมรภูมิของความตั้งมั่นคือ สถาบันทางการเมือง, เศรษฐกิจ, กฎหมาย,
                  ระบบราชการ และภาคประชาสังคม (Linz and Stepan, 1996) ซึ่งวัฒนา สุกัณศีล (2555) ได้นำาเสนอแนวคิด
                  ของ Linz and Stepan ที่เสนอประเด็นที่สำาคัญเกี่ยวกับกระบวนการสร้างความชอบธรรมของประชาธิปไตย

                  ซึ่งถือเป็นการยอมรับทางการเมืองว่า “หากประเทศใดมีระบบประชาธิปไตยที่มั่นคงและแข็งแรงก็เฉพาะต่อเมื่อ

                  บรรดาผู้น�าคนส�าคัญ ๆ ของประเทศและประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ระบบประชาธิปไตยเป็นระบบการเมืองเดียว
                  ที่ส�าคัญและต้องสนับสนุน” (วัฒนา สุกัณศีล, 2555, น.222)


                          Rose and Shin (2000, pp. 331-354) ศึกษากลุ่มประเทศโลกที่ 1 และโลกที่ 3 ถึงความแตกต่างของ
                  กระบวนการสร้างประชาธิปไตย และพบว่า ประเทศโลกที่ 3 คือ ประเทศที่มักมีการจัดการแข่งขันการเลือกตั้ง

                  ภายหลังการปกครองโดยผู้นำาแบบเผด็จการ มากกว่าเป็นการพัฒนาสถาบันทางการเมืองอื่น ขึ้นมาก่อนหน้า
                  ซึ่งมีผลทำาให้การพัฒนาประชาธิปไตยเป็นไปอย่างล่าช้า และมักมีระบอบประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ ที่สำาคัญ

                  คือ การสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตยต้องเกิดมาจากความเข้มแข็งของสถาบันทางการเมืองที่สามารถ
                  ตอบสนองความต้องการให้แก่ประชาชนได้ ซึ่งพรรคการเมืองถือเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำาคัญ ในขณะที่ Gerard

                  (2002) นำาเสนอว่า ความตั้งมั่นของประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำาเป็นสำาคัญ
                  มากกว่า ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าความเป็นไปของประชาธิปไตยจึงขึ้นอยู่กับที่มาและอุดมการณ์ของชนชั้นนำาด้วย


                          สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2561) ได้ทำาการศึกษาวิจัยเรื่องประชาธิปไตยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่

                  ประชาธิปไตย โดยเป็นการศึกษาเปรียบเทียบ 8 ประเทศ โดยศึกษาลักษณะร่วมและลักษณะต่างจนนำามาสู่
                  ข้อสรุปในการศึกษาที่พบว่าไม่มีความแน่ชัดในเรื่องของเจตนารมณ์ของการสร้างประชาธิปไตยในประเทศของ

                  ผู้นำาทางการเมืองทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและชนชั้นนำา ในขณะที่สังคมไทยสถาบันทางการเมืองหลักเช่น
                  รัฐธรรมนูญ รัฐบาล และการเลือกตั้ง ยังไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสถาบันที่จะช่วยแก้วิกฤติและปัญหาความขัดแย้ง

                  จนสร้างความตั้งมั่นของประชาธิปไตยได้
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48