Page 45 - kpiebook63011
P. 45
45
แต่จำาเป็นต้องศึกษาควบคู่กันไปกับทฤษฎีปัจจัยตัวกำาหนด (Deterministic Theory) กล่าวคือ ศึกษาว่า
ในการเลือกลงคะแนนเสียงนั้นมีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการตัดสินใจทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
โดยในทางทฤษฎีแล้วได้กำาหนดปัจจัยอย่างทั่วไปเช่น เพศ อายุ อาชีพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย ฯลฯ เหล่านี้
เป็นปัจจัยพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัจจัยทางสังคม การเมือง ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง
อีกด้วย ปัจจัยที่ 1 คือการพึ่งพาต่อรัฐหรือเป็นลูกจ้างรัฐ/ข้าราชการ ปัจจัยที่ 2 คือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
และปัจจัยที่ 3 คือการหลีกหนีความขัดแย้งโดยไม่ไปใช้สิทธิ์ (สมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ, 2553, น.5-6)
นอกจากนี้ ตามการศึกษาของ Seymour Martin Lipset (1997 อ้างใน ศุภมิตร ปิติพัฒน์, 2562) ได้ค้นหาว่า
อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเฉพาะพฤติกรรมในการเลือกตั้งของประชาชน
ผู้ออกเสียงลงคะแนน อะไรคือแหล่งที่มาของคุณค่าและขบวนการเคลื่อนไหวที่ช่วยรักษาสนับสนุนหรือเป็น
อันตรายต่อสังคมประชาธิปไตย รวมทั้งอธิบายว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งนอกจากจะมีผลต่อการตัดสินใจ
เลือกแล้ว ยังมีผลต่อการตัดสินใจว่าจะไปลงคะแนนเสียงหรือไม่อีกด้วย (สมพันธ์ เตชะอธิกและคณะ, 2553,
น.5-6) แต่การอธิบายในเชิงทฤษฎีนี้ได้อธิบายศึกษาภายใต้สภาวการณ์ของการเมืองที่เป็นรูปแบบปกติทั่วไป
แต่ขณะที่บริบททางการเมืองไทยนั้นยังมีมิติที่หลากหลายมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการสังกัดพรรคการเมือง
ตัวบุคคล หรืออุดมการณ์ชุดใดชุดหนึ่ง ระบบอุปถัมภ์ ลักษณะการรวมกลุ่มภายใต้การนำาของหัวคะแนน
การใช้นโยบายประชานิยม การใช้สื่อ หรือการดำาเนินงานผ่านองค์กรของภาครัฐ/ราชการ เหล่านี้เป็นต้น
โดยเฉพาะการผสานกันระหว่างปัจจัยสองประการคือ ระบบอุปถัมภ์และการขยายตัวของทุนท้องถิ่น
การขยายตัวของนายทุนพ่อค้าในท้องถิ่นที่ได้ผันตัวเข้ามาในแวดวงการเมือง และใช้กำาลังทุนในการหาเสียงเลือกตั้ง
ทั้งการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในรูปแบบปกติ และการซื้อเสียง (Vote Buying) โดยดำาเนินการผ่านคนกลางคือ
หัวคะแนน จนกลายเป็นวิธีการสำาคัญในการชนะการเลือกตั้งท่ามกลางความต้องการของปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ของชุมชนท้องถิ่นในชนบท การซื้อเสียงจึงจัดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของ
ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในสังคมชนบทไทย ที่ยึดถือระบบวัฒนธรรมบุญคุณอุปถัมภ์ (Patron System)
ที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวคือเงินซื้อเสียงอาจไม่สามารถกำาหนดพฤติกรรม
การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ ถ้าขาดมิติของการเป็นผู้อุปถัมภ์ที่จะช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นได้
จากมุมมองต่อรัฐว่าเป็นองค์กรที่ไม่อาจพึ่งพาได้เท่ากับนักการเมืองในท้องที่ของตน แต่ในขณะเดียวกัน
ชนชั้นกลางในเมืองกลับมีลักษณะการเลือกลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองด้วยวิจารณญาณทางการเมือง
มากกว่าลักษณะของการชำาระหนี้บุญคุณ (ศุทธิกานต์ มีจั่น, 2556, น.112- 115)
จากแนวคิดที่ใช้มาประกอบการอธิบายการศึกษาจะเห็นว่า การจัดการเลือกตั้งให้ตอบสนอง
ความต้องการและการแสดงออกซึ่งสิทธิของประชาชนถือเป็นพื้นฐานที่สำาคัญของการสร้างความตั้งมั่นของ
ประชาธิปไตย เนื่องจากนำามาสู่การสร้างสถาบันทางการเมืองและพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะ
รัฐธรรมนูญ กฎหมายต่าง ๆ และแนวทางในการจัดการเลือกตั้งมีผลต่อการเรียนรู้ทางการเมืองของประชาชน
และส่งผลต่อทั้งการพัฒนาและกำาหนดพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน