Page 47 - kpiebook63011
P. 47

47








                  การอยู่ในสายสัมพันธ์หรือเครือข่ายของตระกูลการเมืองอาจนำาไปสู่โอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขัน

                  การเลือกตั้ง แต่ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ โดยข้อมูลสำาคัญที่ได้ทำาการศึกษาคือ ผลการเลือกตั้งในปี 2554
                  พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหน้าใหม่นั้นมีสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งที่มาจากจากตระกูลการเมือง ในสัดส่วนของ

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหน้าใหม่ที่ไม่ได้อยู่ในสายสัมพันธ์ของตระกูลการเมือง พบว่าเกือบครึ่งมีประสบการณ์
                  ในการเป็นนักการเมืองท้องถิ่นมาก่อน การศึกษาของสติธรทำาให้เห็นถึงการดำารงอยู่ของระบบอุปถัมภ์ผ่าน

                  สายตระกูลไปสู่ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งและในจังหวัดนั้น ๆ ในขณะเดียวกันก็เห็นสัญญาณของ
                  ความเสื่อมถอยของอำานาจของตระกูลการเมืองในระบบการเลือกตั้ง


                          บทความของ วีระพงศ์ เชาวลิต (2561) เรื่อง บทบาทของพรรคการเมืองไทยกับการเลือกตั้งใน

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ชี้ให้เห็นว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมนั้น
                  ทำาให้พรรคการเมืองมีความสำาคัญมากขึ้น และทุกพรรคการเมืองมีโอกาสในการได้คะแนนเสียงที่ถูกเอามานับ

                  สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ เกิดการซื้อตัวผู้นำาท้องถิ่น หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง
                  ในนามพรรคการเมือง ซึ่งระบบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำาให้เห็นเป้าหมายของการสร้าง

                  รัฐบาลผสมมากกว่าการสร้างรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองเข้มแข็ง วีระพงศ์ได้วิเคราะห์เพิ่มเติมว่า
                  รัฐธรรมนูญอาจจะไม่ได้สร้างปัญหาในเรื่องของการใช้ระบบการเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม แต่ยังมีปัญหา

                  ต่อเนื่องที่เกิดตามมาภายหลังการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ การทำางานของรัฐบาล ที่จะเป็นการผสม
                  ของพรรคการเมืองรวมกันจำานวนมากจนนำาไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลผสมอันเป็นที่มาของการต่อรองผลประโยชน์

                  ทางการเมืองของกลุ่มการเมืองในระบบรัฐสภา


                          การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 สะท้อน
                  ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระบบพรรคการเมืองและพฤติกรรมของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เช่นงานของ
                  ณสดมภ์ ธิติปรีชา (2560) ที่ศึกษาระบบการเลือกตั้ง การจัดการการเลือกตั้งที่มีผลต่อผลการเลือกตั้ง เรื่อง

                  ระบบเลือกตั้งและการจัดการเลือกตั้ง: เป้าหมายและผลลัพธ์ทางการเมือง จากการศึกษาพบว่าบริบททาง

                  การเมืองในช่วงเวลาต่าง ๆ มีความสำาคัญต่อการกำาหนดเป้าหมายของผู้มีอำานาจในการกำาหนดกติกาทางการเมือง
                  รวมถึงระบบการเลือกตั้งในช่วงเวลานั้น โดยได้ใช้การจัดการเลือกตั้งและระบบเลือกตั้งเป็นเครื่องมือหนึ่ง
                  ในการบรรลุเป้าประสงค์ทางการเมืองที่ต้องการให้เป็นและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามผลลัพธ์

                  อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายของผู้มีอำานาจในการกำาหนดกติกาเสมอไป เนื่องจากความรู้ความเข้าใจและ

                  ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชน ที่อยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งนี้ ณสดมภ์ยังพบว่า
                  ระบบการเลือกตั้งของประเทศไทย ถูกออกแบบมาเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเมืองแทบทั้งสิ้น
                  แม้กระทั่งการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ก็เป็นไปตามเป้าหมายในการลดบทบาทความสำาคัญของ

                  พรรคการเมืองจากการใช้บัตรเลือกตั้งแบบใบเดียว ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำาความเข้าใจผลการเลือกตั้ง

                  และพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนนั้น ต้องทำาความเข้าใจถึงระบบการเลือกตั้งและรูปแบบ ประเภทของ
                  การเลือกตั้งที่มีการออกแบบและกำาหนดมาให้สอดคล้องตามเป้าหมายของรัฐ
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52