Page 51 - kpiebook63011
P. 51
51
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2558) ได้เสนอความคิดเรื่องของการคัดเลือกผู้สมัครในหนังสือ หีบบัตรกับบุญคุณ
การเมืองการเลือกตั้ง และการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายอุปถัมภ์ ซึ่งงานชิ้นที่เป็นการศึกษาประเด็นสำาคัญ
เรื่องการเลือกตั้งภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 โดยศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ อุบลราชธานี
และนครศรีธรรมราช การศึกษาของเวียงรัฐได้สะท้อนภาพของความสำาคัญของระบบอุปถัมภ์ในการเมืองไทย
โดยเฉพาะเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมือง ที่ร้อยเรียงผลประโยชน์และอำานาจของกลุ่มชนชั้นการเมือง
ในระดับชาติและระดับท้องถิ่นไว้ด้วยกัน จุดเปลี่ยนที่สำาคัญที่มีผลต่อความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ คือ
การกระจายอำานาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลายเป็นตัวแสดง
สำาคัญในทางการเมือง เนื่องจากการกระจายอำานาจได้นำามาสู่การกระจายผลประโยชน์ผ่านระบบงบประมาณ
ที่ทำาให้การเมืองในระดับท้องถิ่นสามารถเสนอนโยบายในการพัฒนาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมโยงกับ
พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองระดับชาติได้อีกด้วย
จากการศึกษาแนวคิด การทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น ได้สะท้อนความสำาคัญ
ของกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยที่กำาหนดอำานาจ หน้าที่ของตัวแสดงทางการเมืองที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ
ระบบเลือกตั้ง ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และภาคประชาชน ระบบการเลือกตั้งถือเป็น
กลไกในการจัดสรรอำานาจของสถาบันทางการเมืองภายในโครงสร้างอำานาจรัฐไทย จากการสำารวจและทบทวน
วรรณกรรมพบว่าการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทาง
การเมืองที่นำามาสู่การออกแบบระบบการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับพลวัตอำานาจในแต่ละช่วงเวลามีความสำาคัญ
การมุ่งค้นหากลจักรทางการเมืองที่จะมาสนับสนุนส่งเสริมการทำางานของกระบวนการสร้างประชาธิปไตย
ซึ่งกลจักรสำาคัญอันหนึ่งคือ พรรคการเมือง ในฐานะสถาบันทางการเมืองที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง
รัฐกับประชาชนมากที่สุดสถาบันหนึ่ง บทบาทของพรรคการเมืองในการเมืองไทยเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา
มีความสำาคัญต่อการเชื่อมต่อความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนอย่างมาก